การบุกครองคูเวต
- ดูบทความหลักที่ การบุกครองคูเวต
ผลจากการประชุมที่เจดดห์ลงเอยด้วยการที่อิรักต้องการเงินจำนวน 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อชดเชยรายได้ที่ตนเสียไปจากทุ่งน้ำมันรูไมลา คูเวตเสนอกลับด้วยเงินจำนวน 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำให้อิรักสั่งทำการบุกในทันที ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533 อิรักเปิดการรุกด้วยการทิ้งระเบิดใส่คูเวตซิตี เมืองหลวงของคูเวต
ในช่วงขณะการบุก เชื่อกันว่ากองทัพคูเวตมีทหาร 16,000 นาย โดยแบ่งออกเป็นกองกำลังยานเกราะ ทหารช่าง และกองทหารปืนใหญ่ กำลังของกองทัพอากาศคูเวตก่อนช่วงสงครามนั้นอยู่ที่ประมาณ 2,200 นาย โดยมีอากาศยาน 80 ลำและเฮลิคอปเตอร์อีก 40 ลำ แม้ว่าอิรักได้ทำการขู่เปิดสงครามก่อนหน้า แต่คูเวตกลับไม่ได้เตรียมกองกำลังของตนเอาไว้ กองทัพคูเวตยอมแพ้ในวันที่ 19 กรกฎาคม
เมื่อสิ้นสุดสงครามอิหร่านอิรักในปีพ.ศ. 2531 กองทัพบกอิรักกลายเป็นกองทัพอันดับสี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยประกอบด้วยทหาร 955,000 นายและกองกำลังกึ่งทหารอีก 650,000 นาย จากการคาดการณ์ขั้นต่ำของจอห์น ไชลด์สและอังเดร คอร์วิแซร์ กองทัพอิรักสามารถระดมรถถังได้ 4,500 คัน อากาศยานรบ 484 ลำ และเฮลิคอปเตอร์รบอีก 232 ลำ ไมเคิล ไนท์ส คาดการว่า ในกรณีอย่างมาก อิรักจะสามารถระดมพลได้ 1 ล้านนายและกองกำลังสำรองอีก 850,000 นาย พร้อมรถถัง 5,500 คัน ปืนใหญ่ 3,000 กระบอก อากาศยานรบและเฮลิคอปเตอร์ 700 ลำ เป็นทั้งหมด 53 กองพล กรมสงครามพิเศษ 20 กรม และกองกำลังติดอาวุธอีกจำนวนมากตามพื้นที่ และพวกเขาก็มีการป้องกันทางอากาศที่แน่นหนาอีกด้วย
หน่วยคอมมานโดของอิรักเป็นหัวหอกในการรบด้วยการแทรกซึมเข้าไปที่ชายแดนของคูเวตเพื่อเตรียมการรบให้พร้อมสำหรับหน่วยรบขนาดใหญ่ที่จะเปิดศึกตอนเที่ยงคืน อิรักแบ่งการรุกเป็นสองแนว โดยมีกองกำลังหลักโจมตีจากทางเหนือลงไปทางใต้ผ่านทางหลวงตรงไปยังคูเวต และอีกด้านเป็นการโจมตีสนับสนุนที่เข้าจากทางตะวันตกของคูเวตและหักออกไปทางตะวันออก เพื่อตัดเมืองหลวงออกจากทางใต้ที่เหลือของประเทศ ผู้บัญชาการกองพันยานเกราะ กรมยานเกราะที่ 35 ของคูเวตได้วางแนวรบเพื่อรับมือกองทัพอิรักและสามารถป้องกันเอาไว้ได้อย่างดุเดือดดในการรบใกล้กับอัล จาห์ราทางตะวันตกจองคูเวตซิคี
อากาศยานของคูเวตเข้าสกัดข้าศึกแต่ถูกยึดหรือทำลายไปร้อยละ 20 การรบทางอากาศกับกองพลขนส่งทางเฮลิคอปเตอร์ของอิรักเกิดขึ้นเหนือคูเวตซิตี อิรักสูญเสียทหารชั้นดีเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีการปะทะประปรายระหว่างกองทัพอากาศคูเวตกับกองกำลังภาคพื้นของอิรักด้วย
กองกำลังหลักของอิรักฝ่าแนวเข้าไปยังคูเวตซิตีนำโดยคอมมานโดที่ส่งโดยเฮลิคอปเตอร์และเรือเพื่อเข้าโจมตีเมืองจากทางทะเล ใขณะที่กองพลอื่นเข้ายึดท่าอากาศยานและสนามบิน อิรักทำการโจมตีวังดัสมาน ที่พักของเจ้าชายจาเบอร์ อัลอะห์หมัด อัลจาเบอร์ อัลชาบาห์ ซึ่งคุ้มกันโดยองครักษ์และรถถังเอ็ม-84 ในการรบ เจ้าชายองค์เล็กสุดฟาหัด อัลอะห์หมัด อัลจาเบอร์ อัลชาบาห์ถูกสังหารโดยฝ่ายอิรัก
ฝ่ายต่อต้านส่วนใหญ่ถูกปราบปรามภายในสิบสองชั่วโมง ราชวงศ์หลบหนีออกนอกคูเวต ทำให้อิรักเข้าควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของคูเวต หลังจากการต่อสู้อย่างดุเดือดเป็นเวลาสองวัน กองกำลังส่วนใหญ่ของคูเวตถูกเอาชนะโดยริพับลิกันการ์ดของอิรักหรือไม่ก็หนีไปยังซาอุดิอาระเบีย เจ้าชายแห่งคูเวตและรัฐมนตรีสามารถหลบหนีและมุ่งหน้าลงใต้เพื่อขอลี้ภัยในซาอุดิอาระเบียได้ กองกำลังภาคพื้นของอิรักเข้าควบคุมคูเวตซิตี หลังจากนั้นมุ่งหน้าลงใต้เพื่อวางกำลังพลตลอดแนวชายแดนซาอุ หลังจากได้รับชัยชนะ ซัดดัมก็เริ่มตั้งการปกครองหุ่นเชิดโดยใช้ชื่อว่ารัฐบาลชั่วคราวแห่งคูเวตอิสระ ก่อนที่จะแต่งตั้งให้ญาติของตน อลี ฮัสซาน อัลมาจิดเป็นผู้ว่าราชการในวันที่ 8 สิงหาคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น