ยุทธการคาฟจิ
ในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2534 กองกำลังอิรักได้เข้าโจมตีและยึดครองเมืองคาฟจิที่แทบจะไร้การป้องกันของซาอุ ยุทธการคาฟจิสิ้นสุดลงในอีกสองวันต่อมาเมื่อกองกำลังอิรักถูกรุกตีโดยกองกำลังป้องกันชาติซาอุดิอาระเบียและกองทัพน้อยนาวิกโยธินสหรัฐที่สนับสนุนโดยกองกำลังจากกาตาร์ กองกำลังชาติพันธมิตรได้ให้การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดและการระดมยิงด้วยปืนใหญ่
ทั้งสองฝ่ายล้วนสูญเสียเป็นจำนวนมาก แม้ว่าทางอิรักจะมีการสูญเสียมากกว่าเล็กน้อย มีทหารอเมริกัน 11 นายถูกสังหารในเหตุยิงกันเองสองครั้ง รวมกับทหารอากาศอีก 14 นายที่เสียชีวิตจากเครื่องเอซี-130 ที่ถูกยิงตกโดยอิรัก และมีทหารอีกสองนายถูกจับเป็บเชลย กองกำลังของซาอุและกาตาร์สูญเสียทหารรวมกัน 18 นาย ส่วนอิรักสูญเสียทหารไป 60-300 นายและถูกจับอีก 400 นาย
คาฟจิกกลายเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ทันทีหลังจากที่อิรักบุกคูเวต อิรักลังเลที่จะส่งกองพลยานเกราะจำนวนมากเข้ายึดครองเมืองและการใช้เมืองเป็นฐานโจมตีฝั่งตะวันออกที่มีการป้องกันน้อยของซาอุดิอาระเบียในเวลาต่อมานั้น ถูกมองว่าเป็นความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ ไม่เพียงแค่อิรักอาจสามารถรักษาเสบียงน้ำมันส่วนใหญ่ของตะวันออกกลางไว้ได้ แต่ยังอาจสามารถจัดการกับทหารสหรัฐที่วางอยู่ตามแนวป้องกันที่เหนือกว่าได้ดีกว่านี้เสียด้วย
การทัพทางบก
กองกำลังผสมได้ยึดครองน่านฟ้าด้วยเทคโนโลยีที่เหนือกว่าอิรัก กองกำลังของพวกเขาได้เปรียบอย่างมากเพราะได้รับการป้องกันจากเป็นเจ้าอากาศ ซึ่งได้มาโดยกองทัพอากาศก่อนที่จะมีการรุกทางบก กองกำลังผสมยังมีความได้เปรียบทางเทคโนโลยีสองอย่างด้วยกัน คือ
- รถถังประจัญบานหลักของกองกำลังผสม เช่น เอ็ม1 เอบรามส์ของสหรัฐ ชาลเลนเจอร์ 1 ของอังกฤษ และเอ็ม-84เอบีของคูเวต มีความสามารถเหนือกว่าไทป์ 69 ของจีนและที-72 ของอิรักอย่างมาก รวมทั้งทหารยานเกราะของกองกำลังผสมเองก็ได้รับการฝึกฝนมาดีกว่า
- การใช้จีพีเอสทำให้กองกำลังผสมสามารถหาหนทางได้โดยไม่ต้องพึ่งถนนหรือสัญลักษณ์ใดๆ เมื่อรวมกับการลาดตระเวนทางอากาศทำให้พวกเขาเลือกที่จะสู้ด้วยการสงครามกลยุทธ์แทนที่จะใช้การรบแบบแตกหัก เพราะพวกเขารู้ว่าพวกเขาอยู่ตรงไหนและศัตรูอยู่ตรงไหน พวกเขาจึงสามารถโจมตีเป้าหมายเฉพาะแทนที่จะเป็นการค้นหาศัตรูตามพื้นดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น