- "สงครามอ่าว" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับสงครามที่เกี่ยวข้องกับอิรักอื่น ๆ ดูที่ สงครามที่เกี่ยวข้องกับอิรัก
- ระวังสับสนกับ สงครามอิรัก-อิหร่าน
สงครามอ่าวเปอร์เซีย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับภาพตามเข็มนาฬิกา เครื่องบินของกองทัพอากาศสหรัฐกำลังบินเหนือบ่อน้ำมันในคูเวต; ทหารอังกฤษในปฏิบัติการแกรนบี้; ภาพจากล็อกฮีด เอซี-130; ทางหลวงมรณะ; เอ็ม 728 | |||||||
| |||||||
คู่ขัดแย้ง | |||||||
กองกำลังพันธมิตร:
คูเวต
สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ซาอุดีอาระเบีย ฝรั่งเศส แคนาดา อียิปต์ ซีเรีย กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | อิรัก | ||||||
ผู้บังคับบัญชา | |||||||
จาเบอร์ อัลอะหมัด อัลจาเบอร์ อัลซาบาห์ | ซัดดัม ฮุสเซน | ||||||
กำลัง | |||||||
ทหาร 959,600 นาย เครื่องบินขับไล่และเครื่องบินโจมตีรวมกันทั้งหมด 1,820 ลำ (สหรัฐอเมริกา 1,376 ลำ; ซาอุดิอาระเบีย 175 ลำ; อังกฤษ 69 ลำ; ฝรั่งเศส 42 ลำ; แคนาดา 24 ลำ; อิตาลี 8 ลำ)
รถถัง 3,318 คัน (ส่วนมากมักจะเป็นเอ็ม 1 เอบรามส์(สหรัฐอเมริกา) ชาเลนเจอร์ 1(สหราชอาณาจักร) และเอ็ม 60(สหรัฐอเมริกา)
เรือบรรทุกเครื่องบิน 8 ลำ เรือประจัญบาน 2 ลำ เรือลาดตระเวน 20 ลำ เรือพิฆาต 20 ลำ เรือดำน้ำ 5 ลำ | ทหาร 545,000+ นาย (100,000+ นายในคูเวต)
เครื่องบินขับไล่ 649 ลำ
ร ถถัง 4,500 คัน (มีไทป์-59 และไทป์-69 ของจีน; ที-55และที-62ที่ผลิตเอง; ที-72ของโซเวียตอีก 500 คัน) | ||||||
กำลังพลสูญเสีย | |||||||
ถูกศัตรูสังหาร: 190 นาย บาดเจ็บ 719 นาย ถูกจับเป็นเชลย 41 นาย (ไม่ทราบจำนวนผู้เสียชีวิตของฝ่ายคูเวต แต่มีอย่างน้อย 605 นายที่สูญหาย)
ยิงฝ่ายเดียวกัน: 44 นาย บาดเจ็บ 57 นาย
อุบัติเหตุจากระเบิด: 11 นาย อุบัติเหตุ: 134 นาย ทั้งสิ้น: มีประมาณ 1,800 นายที่เสียชีวิต บาดเจ็บ สูญหายและถูกจับเป็นเชลย | ถูกสังหาร 20,000 นาย
ถูกจับเป็นเชลย 80,000 นาย
บาดเจ็บ 75,000 นาย ทั้งสิ้น 175,000-355,000 นายที่ถูกสังหาร บาดเจ็บ สูญหาย และถูกจับเป็นเชลย | ||||||
พลเรือน
ชาวอิรักถูกสังหาร 3,664 ราย
ชาวอิสราเอลถูกสังหาร 2 ราย บาดเจ็บ 230 ราย ชาวซาอุถูกสังหาร 1 ราย บาดเจ็บ 65 ราย ชาวคูเวตประมาณ 1,000 คนถูกสังหารในช่วงที่อิรักเข้ายึดครอง และมีผู้อพยพกว่า 300,000 คน |
สงครามอ่าวเปอร์เซีย หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า สงครามอ่าว (อังกฤษ: Gulf War) หรือที่รู้จักกันว่า สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่หนึ่ง, สงครามก่อนที่จะใช้เรียกการบุกครองอิรักเมื่อ พ.ศ. 2546 และเรียกกันด้วยความเข้าใจผิดว่า ปฏิบัติการพายุทะเลทราย ซึ่งเป็นชื่อของปฏิบัติการเพื่อการรับมือทางทหาร เป็นความขัดแย้งทางทหารที่เริ่มโดยกองกำลังผสมจาก 34 ประเทศโดยมีสหประชาชาติเป็นผู้ดูแล กับอิรักและรัฐบาลร่วมที่ต้องการขับไล่กองกำลังอิรักออกจากคูเวตหลังจากที่อิรักเข้ายึดครองคูเวต ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533
การรุกรานคูเวตโดยกองทัพอิรักที่เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ได้รับการประณามจากนานาชาติ และนำไปสู่การลงโทษทางเศรษฐกิจทันทีโดยสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประธานาธิบดีสหรัฐ จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ส่งกำลังอเมริกันไปยังซาอุดิอาระเบียเกือบ 6 เดือนหลังจากนั้น และกระตุ้นให้ประเทศอื่นส่งกำลังของตนเข้ามายังสถานที่ดังกล่าวด้วย มีหลายประเทศเข้าร่วมกำลังผสมด้วย โดยมีกำลังทหารส่วนใหญ่มาจากสหรัฐอเมริกา ซาอุดิอาระเบีย สหราชอาณาจักรและอียิปต์เป็นผู้ให้ความร่วมมือหลัก ซาอุดิอาระเบียระดมทุนให้ประมาณ 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จากทั้งมหด 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในสงครามครั้งนี้
ความขัดแย้งระยะแรกเพื่อขับไล่กองทัพอิรักออกจากคูเวตเริ่มต้นขึ้นจากการทิ้งระเบิดทางอากาศเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2534 ตามมาด้วยการโจมตีภาคพื้นดินเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ สงครามดังกล่าวสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะอย่างเด็ดขาดของกองกำลังผสม ผู้ซึ่งปลดปล่อยคูเวตและรุกเข้าไปในพรมแดนอิรัก กองกำลังผสมยุติการรุกคืบ และประกาศหยุดหยิง 100 ชั่วโมงหลังจากการทัพภาคพื้นดินเริ่มต้นขึ้น การรบทางอากาศและพื้นดินจำกัดอยู่ภายในอิรัก คูเวต และพื้นที่บริเวณพรมแดนของซาอุดิอาระเบีย อย่างไรก็ตาม อิรักได้ปล่อยขีปนาวุธสกั๊ดต่อเป้าหมายทางทหารของกองกำลังผสมในซาอุดิอาระเบียและต่ออิสราเอล
ที่มา
ตลอดช่วงเวลาของสงครามเย็น อิรักเป็นพันธมิตรสหภาพโซเวียตและมีประวัติความไม่ลงรอยกับสหรัฐอเมริกา สหรัฐกังวลถึงตำแหน่งของอิรักต่อการเมืองอิสราเอล-ชาวปาเลสไตน์และการที่อิรักไม่เห็นด้วยกับสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์
สหรัฐเองก็ไม่ชอบการที่อิรักเข้าสนับสนุนกลุ่มอาหรับและปาเลสไตน์ติดอาวุธอย่างอาบูไนดัล ซึ่งทำให้มีการรวมอิรักเข้าไปในรายชื่อประเทศผู้ให้การสนับสนุนการก่อการร้ายข้ามชาติของสหรัฐในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2522 สหรัฐยังคงสถานะเป็นกลางอย่างเป็นทางการหลังจากการรุนรานของอิหร่านกลายมาเป็นสงครามอิรัก-อิหร่านแม้ว่าจะแอบช่วยอิรักอย่างลับ ๆ อย่างไรก็ดีในเดือนมีนาคม 2525 อิหร่านเริ่มทำการโต้ตอบได้สำเร็จ ปฏิบัติการชัยชนะที่ปฏิเสธไม่ได้ และสหรัฐได้เพิ่มการสนับสนุนให้กับอิรักเพื่อป้องกันไม่ให้อิรักถูกบังคับให้พ่ายแพ้
ในความพยายามของสหรัฐที่จะเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตอิรักอย่างเต็มตัว ประเทศอิรักได้ถูกนำออกจากรายชื่อประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย นั่นก็เพราะว่าการพัฒนาในบันทึกการปกครอง แม้ว่าอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐ โนเอล คอช ได้กล่าวในเวลาต่อมาว่า "ไม่มีใครที่สงสัยในเรื่องที่อิรักยังคงมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ก่อการร้าย... เหตุผลจริง ๆ คือเพื่อช่วยให้พวกเขามีชัยเหนืออิหร่าน"
เมื่ออิหร่านประสบกับชัยชนะในสงครามและปฏิเสธการสงบศึกที่ได้รับการเสนอขึ้นในเดือนกรกฎาคม การขายอาวุธให้กับอิรักก็ทำลายสถิติเมื่อปี 2525 แต่อุปสรรคยังคงมีอยู่ระหว่างสหรัฐกับอิรัก กลุ่มอาบูไนดัลยังคงได้รับการสนับสนุนอยู่ในแบกแดด เมื่อประธานาธิบดีอิรัก ซัดดัม ฮุสเซน ได้ขับไล่พวเขาไปยังซีเรียตามคำขอของสหรัฐในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2526 รัฐบาลเรแกนได้ส่งโดนัลด์ รัมส์เฟลด์ เพื่อพบกับประธานาธิบดีฮุสเซนเป็นทูตพิเศษและเพื่อกระชับความสัมพันธ์
ความตึงเครียดกับคูเวต
เมื่ออิรักทำการหยุดยิงกับอิหร่านในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531 อิรักก็ประสบกับการล้มละลายอย่างแท้จริง โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้ซาอุดิอาระเบียและคูเวต อิรักกดดันทั้งสองชาติให้ยกหนี้ทั้งหมด แต่ทั้งสองประเทศตอบปฏิเสธ อิรักยังได้กล่าวหาคูเวตว่าได้ผลิตน้ำมันโควตาของโอเปก ทำให้ราคาน้ำมันดิ่งลง ซึ่งส่งผลให้อิรักประสบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจเพิ่มเข้าไปอีก
การที่ราคาของน้ำมันตกลงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของอิรักอย่างใหญ่หลวง รัฐบาลอิรักได้บรรยายว่ามันเป็นสงครามทางเศรษฐกิจ ซึ่งอ้างว่าคูเวตเป็นต้นเหตุ โดยการเจาะท่อลอดข้ามพรมแดนเข้าไปในทุ่งน้ำมันรูมาเลียของอิรัก
ความขัดแย้งระหว่างทั้งสองประเทศยังเกี่ยวข้องกับคำกล่าวอ้างของอิรักที่ระบุว่า คูเวตเป็นอาณาเขตของอิรัก หลังจากได้รับเอกรารชจากสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2475 รัฐบาลอิรักได้ประกาศในัทันทีว่าคูเวตเป็นอาณาเขตโดยชอบธรรมของอิรัก เนื่องจากเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอิรักเป็นเวลาหลายศตวรรษจนกระทั่งอังกฤษก่อตั้งคูเวตขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ดังนั้น จึงได้กล่าวว่า คูเวตเป็นผลผลิตจากลัทธิจักรวรรดินิยมของอังกฤษ อิรักอ้างว่าคูเวตเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดบาสราของจักรวรรดิออตโตมัน ราชวงศ์ที่ปกครองคูเวต อัลซอบะห์ ได้ตัดสินใจลงนามในข้อตกลงเป็นรัฐในอารักขาเมื่อ พ.ศ. 2442 ซึ่งมอบหมายความรับผิดชอกิจการระหว่างประเทศให้แก่อังกฤษ อังกฤษเขียนพรมแดนระหว่างทั้งสองประเทศ และพยายามจำกัดทางออกสู่ทะเลของอิรักอย่างระมัดระวัง เพื่อที่ว่ารัฐบาลอิรักในอนาคตจะไม่มีโอกาสคุกคามการครอบครองอ่าวเปอร์เซียของอังกฤษ อิรักปฏิเสธที่จะยอมรับพรมแดนที่ถูกเขียนขึ้น และไม่รับรองคูเวตจนกระทั่งปี พ.ศ. 2506
ในตอนต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2533 อิรักไม่พอใจกับพฤติกรรมของคูเวต อย่างเช่น ไม่เคารพโควตา และคุกคามที่จะใช้กำลังทหารอย่างเปิดเผย วันที่ 23 กรกฎาคม ซีไอเอรายงานว่าอิรักได้เคลื่อนกำลังพล 30,000 นาย ไปยังพรมแดนอิรัก-คูเวต และกองเรือสหรัฐในอ่าวเปอร์เซียได้รับการเตือนภัย วันที่ 25 กรกฎาคม ซัดดัม ฮุสเซน พบกับเอพริล กลาสพาย เอกอัครราชทูตอเมริกันในกรุงแบกแดด ตามการแปลเป็นภาษาอิรักของการประชุมครั้งนั้น กลาสพายพูดกับผู้แทนอิรักว่า
"เราไม่มีความคิดเห็นต่อความขัดแย้งอาหรับ-อาหรับ"
ตามบันทึกส่วนตัวของกลาสพาย เธอกล่าวในการประชุมถึงพรมแดนที่ชัดเจนระหว่างคูเวตและอิรัก
"[...] ว่าเธอได้เคยทำงานอยู่ในคูเวตเมื่อ 20 ปีก่อน ดังนั้น ในขณะนี้ เราจึงไม่เลือกฝ่ายต่อความสัมพันธ์ระหว่างอาหรับ"
เมื่อวันที่ 31 การเจรจาระหว่างอิรักและคูเวตในเจดดะห์ประสบความล้มเหลวอย่างรุนแรง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น