วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การคว่ำบาตร


ในทศวรรษที่ 2533 สหรประชาชาติตัดสินใจที่จะลดระดับการคว่ำบาตรลงเพราะมีชาวอิรักมากมายได้รับผลเสีย หลายการศึกษายังคงถกเถียงกันว่ามีผู้คนมากแค่ไหนที่เสียชีวิตในเขตใต้และกลางของอิรักในช่วงที่มีการคว่ำบาตร
ในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2533 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติที่ 661 ออกมาหลังจากที่อิรักรุกรานคูเวต ซึ่งมติดังกล่าวทำให้เกิดการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิรัก ทำให้สินค้ามากมายรวมทั้งยา อาหาร และสิ่งของอื่นๆ ที่จำเป็นขาดแคลนในอิรัก ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533-2546 ผลจากนโยบายของรัฐบาลอิรักและการคว่ำบาตรทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง ส่งผลให้เกิดปัญหาความยากจนและอดอยากไปทั่วประเทศ

น้ำมันที่รั่วไหล

ในวันที่ 23 มกราคม อิรักได้ทิ้งน้ำมันดิบจำนวน 400 ล้านแกลลอน (1.5 ล้านลูกบาศก์เมตร) ลงในอ่าวเปอร์เซีย ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของน้ำมันนอกชายฝั่งครั้งที่เลวร้ายที่สุด ณ เวลานั้น รายงานกันว่าการกระทำดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อทำให้นาวิกโยธินสหรัฐไม่สามารถยกพลขึ้นบกได้ (เรือ"มิสซูรี"และ"วิสคอนซิน"ได้ระดมยิงใส่เกาะเฟลากาเพราะคิดว่าอิรักอาจเตรียมทำการโจมตีสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกจากเกาะดังกล่าว) ประมาณ 30–40% ของน้ำมันที่รั่วไหลเกิดจากการเข้าโจมตีเป้าหมายตามชายฝั่งโดยกองกำลังพันธมิตร

การเผาน้ำมันในคูเวต

การเผาน้ำมันของคูเวตเกิดขึ้นจากฝีมือของทหารอิรักที่วางเพลิงบ่อน้ำมัน 700 แห่งตามนโยบายเผาทำลายในตอนที่พวกเขาล่าถอยจากคูเวตในปีพ.ศ. 2534 การวางเพลิงเริ่มขึ้นในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 และควบคุมเพลิงได้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2534
สาเหตุที่ไม่สามารถควบคุมเพลิงไหม้ได้ก็เพราะว่าพื้นที่ดังกล่าวมีอันตรายเกินไปสำหรับนักดับเพลิง ทหารอิรักได้วางทุ่นระเบิดบกไว้ทั่วบริเวณบ่อน้ำมัน ทำให้ทหารต้องเข้าไปเก็บกู้ระเบิดก่อนที่จะส่งนักดับเพลิงเข้าไปดับไฟ ประมาณกันว่ามีน้ำมันถูกเผาไป 6 ล้านบาเรล (9.5 แสนลูกบาศก์เมตร) ในแต่ละวัน ในที่สุดทีมดับเพลิงเอกชนก็สามารถเข้าควบคุมเพลิงได้ โดยคูเวตเสียน้ำมันคิดเป็นเงินได้ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การลุกไหม้กินเวลา 10 เดือนซึ่งก่อให้เกิดมลพิษไปทั่วประเทศ

ค่าใช้จ่าย

สภาคองเกรสได้คำนวณจำนวนเงินที่สหรัฐใช้จ่ายไปกับสงครามเป็นจำนวน 61,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศอื่นๆ ใช้เงินไปประมาณ 52,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย คูเวต ซาอุดิอาระเบียและรัฐอาหรับอื่นๆ ในอ่าวเปอร์เซียใช้เงินไป 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เยอรมนีและญี่ปุ่นใช้เงินไป 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (แต่ไม่ได้ส่งทหารเข้าร่วมเพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ) 25% ของจากช่วยเหลือจากซาอุดิอาระเบียเป็นการช่วยเหลือทางด้านการบริหารให้กับทหาร เช่น อาหารและการเดินทาง 74% ของจำนวนทหารทั้งหมดเป็นทหารสหรัฐ จึงทำให้เป็นชาติที่ใช้เงินมากที่สุดในสงคราม

ผลกระทบต่อชาติกำลังพัฒนา

นอกจากผลกระทบต่อชาติในอ่าวเปอร์เซียแล้ว ผลกระทบอื่นๆ คือการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจหลักจากที่สงครามได้ส่งผลกระทบต่อหลายชาติ สถาบันการพัฒนาของต่างประเทศได้ทำการศึกษาขึ้นในปีพ.ศ. 2534 เพื่อเข้าถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนาและการตอบสนองของนานาประเทศ รายงานสรุปนั้นออกมาในวันสุดท้ายของสงครามโดยพบความเป็นไปได้สองอย่าง คือ ชาติกำลังพัฒนาหลายชาติจะได้รับผลกระทบอย่างหนักและแม้ว่าจะมีวิธีรับมือต่อวิกฤตการณ์ดังกล่าว แต่การกระจายความช่วยเหลือก็ต้องทำอย่างละเอียดมาก
สถาบันการพัฒนาในต่างประเทศได้ให้ปัจจัยในด้านของค่าเสียหายโดยประกอบด้วย การนำเข้าน้ำมัน กระแสเงินส่ง ค่านิคมที่ดิน ค่าเสียหายจากการส่งออกและการท่องเที่ยว อียิปต์สูญเงิน 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐและ 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เยเมนสูญเงิน 830 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในขณะที่จอร์แดนสูญเงิน 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 32% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
นานาประเทศจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการร่วมกันให้ความช่วยเหลือผ่านทางกลุ่มร่วมมือทางการเงินวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซีย (The Gulf Crisis Financial Co-ordination Group) มีประเทศทั้งหมด 24 ประเทศเข้าร่วมกลุ่ม โดยส่วนมากมาจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา และประเทศในอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และคูเวต สมาชิกของกลุ่มได้ตกลงที่จะกระจายเงินจำนวน 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าสู่การช่วยเหลือด้านการพัฒนา
ธนาคารโลกรับมือกับปัญหาด้วยการเร่งร่ายจ่ายของโครงการที่ดำเนินอยู่และปรับเงินกู้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้นำมาตรการการปล่อยเงินกู้เข้ามาใช้สองมาตรการ ได้แก่ การช่วยเสริมการปรับโครงสร้าง (Enhanced Structural Adjustment Facility) และการช่วยเหลือเงินชดเชยและเงินฉุกเฉิน (Compensatory & Contingency Financing Facility) ประชาคมยุโรปช่วยเหลือด้วยการเสนอเงินจำนวน 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น