วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์เชิงทหารหลังการรบ

กองกำลังผสมมีทหาร 540,000 นายพร้อมกับอีก 1 แสนนายจากกองทัพตุรกีที่วางกำลังตามแนวชายแดนตุรกี-อิรัก สิ่งนี้ทำให้อิรักต้องกระจายทหารของตนไปตามแนวชายแดนทั้งหมด ดังนั้นกำลังรุกหลักโดยสหรัฐจึงสามารถบุกทะลวงได้โดยอาศัยความได้เปรียบทางเทคโนโลยีและจำนวนที่มากกว่าแม้ว่าสื่อตะวันตกในตอนนั้นได้รายงานว่ามีทหารอิรักประมาณ 545,000-600,000 นายในการรบ แต่ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่าข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพของกองทัพอิรักนั้นกล่าวกันเกินจริง เพราะข้อมูลเหล่านั้นนับรวมกองกำลังช่วยคราวและกองกำลังสนับสนุนเข้าไปด้วย ทหารอิรักจำนวนมากเป็นคนหนุ่มและเป็นทหารเกณฑ์ที่ฝึกมาน้อย
การที่อิรักได้รับการสนับสนุนเมื่อครั้งสงครามอิหร่าน-อิรักทำให้อิรักมีอาวุธมากมายจากชาติผู้ค้าอาวุธระดับโลก อิรักจึงไม่มีมาตรฐานในการคัดเลือกสรรพาวุธทำให้กองทัพอิรักมีกความหลากหลายเกินไปซึ่งรวมทั้งการได้รับการฝึกที่ไม่มีมาตรฐานและทหารที่ขาดแรงผลักดัน กองกำลังส่วนใหญ่ของอิรักเคยชินกับการใช้รถถังรุ่นเก่าอย่างไทป์ 59 และไทป์ 69 ของจีนและที-55 ของโซเวียตที่มีมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 2493 และ 2503 นอกจากนี้ยังมีรถถังคุณภาพต่ำอย่าง[[สิงโตแห่งบาบิโลน (รถถัง)]อะซัดบาบิล]] (เป็นรถถังที่ดัดแปลงมาจากที-72 ของโปแลนด์) รถถังเหล่านี้ไม่มีอุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น กล้องมองกลางคืนหรือเลเซอร์วัดระยะ ทำให้ประสิทธิภาพในการรบนั้นด้อยคุณภาพ
ทหารอิรักไม่สามารถหามาตรการตอบโต้กล้องจับความร้อนและกระสุนแซบบอตของกองกำลังผสมได้ อุปกรณ์เหล่านี้เองที่ทำให้รถถังฝ่ายพันธมิตรมีความเหนือกว่าและสามารถทำลายรถถังของอิรักจากระยะที่ไกลกว่าถึงสามเท่า ทหารอิรักใช้กระสุนเจาะเหล็กกล้าเพื่อจัดการกับเกราะช็อบแฮมที่ก้าวหน้าของรถถังสหรัฐและอังกฤษ ผลคือกระสุนดังกล่าวไร้ประโยชน์ ทหารอิรักไม่สามารถอาศัยความได้เปรียบในการสงครามในเมืองด้วยสู้รบภายในคูเวตซิตี ซึ่งอาจสามารถสร้างความเสียหายแก่กองกำลังผสมได้มหาศาล การรบในเมืองนั้นจะลดระยะในการสู้รบและทำให้กองกำลังที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้าเสียเปรียบได้
ทหารอิรักยังได้พยายามที่จะใช้รูปแบบการรบแบบโซเวียตอีกด้วย แต่ก็ต้องล้มเหลวเพราะผู้บังคับบัญชาของอิรักนั้นขาดทักษะ ประกอบกับการที่กองทัพอากาศของกองกำลังผสมได้เข้าทำลายศูนย์สื่อสารหลักและบังเกอร์ของอิรัก

กำลังของศัตรูถูกกำจัด


กลุ่มพลเรือนและกองกำลังผสมกำลังโบกธงชาติคูเวตและซาอุดิอาระเบียเพื่อฉลองชัยชนะในปฏิบัติการพายุทะเลทรายที่ทำให้กองกำลังอิรักล่าถอยออกจากคูเวต

เหรียญทหารผ่านศึกสงครามอ่าวที่มอบให้กับทหารสหรัฐ
ในพื้นที่ยึดครองของกองกำลังผสมในอิรักได้เกิดการประชุมเพื่อสันติภาพขึ้นเพื่อทำข้อตกลงหยุดยิงโดยเป็นที่ยินยอมของทั้งสองฝ่าย ในการประชุมดังกล่าวอิรักได้รับอนุญาตให้ใช้เฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธได้ในชายแดนชั่วคราวฝั่งตนเองเพื่อลำเลียงบุคคลของรัฐบาลเพราะส่วนภาคพลเรือนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ไม่นานหลังจากนั้นเฮลิคอปเตอร์เหล่านั้นและกองทหารของอิรักก็ได้ปะทะกับการจลาจลทางตอนใต้ของอิรัก กลุ่มกบฎได้รับการปลุกใจจากการออกอากาศของรายการ"เดอะวอยซ์ออฟฟรีอิรัก"เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ซึ่งออกอากาศมาจากสถานีวิทยุที่ควบคุมโดยซีไอเอที่ตั้งอยู่นอกซาอุดิอาระเบีย ฝ่ายงานอาหรับจากวอยซ์ออฟอเมริกาได้สนับสนุนการจลาจลโดยกล่าวว่ากลุ่มกบฎมีขนาดใหญ่และไม่นานพวกเขาจะสามารถปลดแอกจากซัดดัมได้
ในทางเหนือของอิรัก ผู้นำกลุ่มชาวเคิร์ดได้รับฟังคำกล่าวของอเมริกาที่ว่าพวกเขาจะให้การสนับสนุนการจลาจลด้วยใจจริงและเริ่มต่อสู้พร้อมกับหวังว่าจะเกิดการรัฐประหารขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อขาดการสนับสนุนโดยสหรัฐ นายพลของอิรักก็ยังคงภักดีต่อซัดดัมและเข้าบดขยี้การจลาจลของชาวเคิร์ดอย่างโหดเหี้ยม ชาวเคิร์ดนับล้านอพยพออกนอกประเทศไปยังตุรกีและอิหร่าน เหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลให้เกิดเขตห้ามบินในทางตอนเหนือและใต้ของอิรักในเวลาต่อมา ในคูเวตเจ้าชายได้กลับสู่บัลลังก์และเหล่าผู้สมรู่ร่วมคิดกับอิรักก็ถูกปราบปราม ท้ายที่สุดมีประชากร 4 แสนคนถูกขับไล่ออกจากประเทศรวมทั้งชาวปาเลสไตน์จำนวนมากเพราะองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์สนับสนุนซัดดัม ยัสเซอร์ อาราฟัตไม่ออกมาขอโทษเรื่องที่เขาสนับสนุนอิรัก แต่หลังจากเสียชีวิต พรรคฟาตาห์ก็ออกมาแสดงความเสียใจอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2547
ฝ่ายบริหารประเทศของบุชถูกวิจารณ์เช่นกัน เพราะพวกเขายอมให้ซัดดัมอยู่ในอำนาจต่อแทนที่จะเข้ายึดกรุงแบกแดดและโค่นล้มรัฐบาลอิรัก ในหนังสืออะเวิลด์ทรานส์ฟอร์มที่เขียนโดยบุชและเบรนท์ สโคว์ครอฟท์ พวกเขาถกเถียงกันว่าหากเข้ายึดอิรักเหล่าพันธมิตรก็จะเกิดการแตกแยกและอาจทำให้เกิดการสูญเสียทางการเมืองและมนุษย์อย่างไม่จำเป็น
ในปีพ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐดิก เชนีย์ได้แสดงความคิดเห็นเช่นเดียวกัน
ผมคิดว่าหากเราเข้าไปในอิรักเราก็อาจมีกำลังทหารในกรุงแบกแดดถึงทุกวันนี้ เราอาจได้ควบคุมประเทศ เราอาจไม่สามารถพาทุกคนออกจากที่นั่นและกลับบ้านได้
สิ่งสุดท้ายที่ผมต้องคิดคำนึงคือการสูญเสีย ผมไม่คิดว่าเราจะสามารถดำเนินการตามนั้นทั้งหมดโดยไม่สูญเสียทหารสหรัฐเพิ่ม ขณะที่ทุกคนประทับใจกับการที่เราสูญเสียทหารไปไม่มากนักในการรบ (ในปีพ.ศ. 2534) แต่สำหรับทหาร 146 นายที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่และสำหรับครอบครัวของพวกเขา มันเป็นสงครามราคาแพง
คำถามในใจผมคือ ซัดดัมมีค่ามากแค่ไหนที่เราจะยอมสูญเสียทหารอเมริกันเพิ่มอีก คำตอบก็คือ ไม่เลย ผมจึงคิดว่าเราควรทำสิ่งที่ถูกต้อง ทั้งตอนที่เราตัดสินใจขับไล่เขาออกจากคูเวตและตอนที่ท่านประธานาธิบดีตัดสินใจว่าเราได้บรรลุเป้าหมายแล้วและเราจะไม่ยอมให้มีปัญหาใดจากการพยายามยึดครองอิรักมาหยุดพวกเรา
— ดิก เชนีย์
ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2534 ทหารสหรัฐจำนวน 540,000 นายเริ่มทำการถอนกำลังออกจากอ่าวเปอร์เซีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น