วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี


เรือยูเอสเอส มิสซูรีกำลังยิงขีปนาวุธโทมาฮอว์ค สงครามอ่าวนับเป็นสงครามสุดท้ายที่มีการใช้เรือประจัญบานเข้าร่วมรบ
อาวุธนำวิถีด้วยความแม่นยำ เช่น ขีปนาวุธนำวิถีเอจีเอ็ม-130 ของสหรัฐ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การโจมตีทุกครั้งสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตพลเรือนได้มากกว่าสงครามครั้งก่อนๆ แม้ว่ามันจะถูกใช้น้อยครั้งกว่าระเบิดทั่วไปที่ไร้ความแม่นยำก็ตาม กองกำลังผสมสามารถระเบิดอาคารในย่านเมืองของแบกแดดได้ในขนาดที่ว่านักข่าวในโรงแรมสามารถเห็นขีปนาวุธกำลังบินเข้าหาเป้าหมาย
อาวุธนำวิถีด้วยความแม่นยำคิดเป็น 7.4% ของระเบิดทั้งหมดที่กองกำลังผสมใช้ ระเบิดแบบอื่นๆ ได้แก่ชุดระเบิดพวง ซึ่งจะระเบิดและกระจายระเบิดขนาดย่อมออกไปทั่วบริเวณ และระเบิดเดซี่คัตเตอร์ขนาด 15,000 ปอนด์ที่สามารถทำลายทุกสิ่งในรัศมีหลายร้อยหลา
ระบบจีพีเอสเองก็มีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้กองกำลังผสมสามารถหาทางข้ามทะเลทรายขนาดใหญ่ได้อย่างง่ายดาย แต่ด้วยการที่เครื่องรับสัญญาณมีจำนวนน้อย บางหน่วยจึงต้องใช้แบบที่เป็นเชิงพาณิชย์แทน และเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจึงต้องปิดการตั้งค่าบางอย่างของระบบจีพีเอสในช่วงปฏิบัติการพายุทะเลทรายเพื่อให้ตัวรับสัญญาณแบบเชิงพาณิชย์สามารถให้ตำแหน่งที่แม่นยำเทียบเท่าแบบของทหาร
ระบบแจ้งเตือนและควบคุมทางอากาศหรือเอแว๊กส์ (AWACS) และระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมมีบทบาทสำคัญมากในสงคราม ตัวอย่างเช่น เครื่องบินกรัมแมน อี-2 ฮอว์คอายและโบอิง อี-3 เซนทรีของสหรัฐ เครื่องบินทั้งสองแบบถูกนำมาใช้ในปฏิบัติการบัญชาการและควบคุม ระบบดังกล่าวทำให้การสื่อสารระหว่างทหารอากาศ ทหารบก และทหารเรือเป็นไปได้ง่าย นี่เป็นหนึ่งในหลายสาเหตุที่กองกำลังผสมสามารถเอาชนะการรบทางอากาศได้
อิรักได้ใช้เครื่องทำสำเนาของอเมริกาในการสร้างแผนการรบของตนเอง แต่เครื่องทำสำเนาเหล่านั้นกลับมีตัวส่งสัญญาณที่ถูกซ่อนเอาไว้ทำให้อากาศยานการสงครามอิเลคทรอนิกของสหรัฐสามารถจับตำแหน่งของฝ่ายอิรักและโจมตีเป้าหมายเหล่านั้นได้อย่างแม่นยำ

ขีปนาวุธสกั๊ดและเพเทรียต

บทบาทของขีปนวุธสกั๊ดมีความโดดเด่นอย่างมากในสงคราม สกั๊ดเป็นขีปนาวุธยุทธวิธีที่สหภาพโซเวียตพัฒนาขึ้นและถูกใช้โดยกลุ่มกองกำลังโซเวียตในเยอรมนีของกองทัพแดงที่ประจำการอยู่ในเยอรมนีตะวันออก มันมีหัวรบเป็นระเบิดนิวเคลียร์และหัวรบเคมีที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำลายส่วนควบคุมและบัญชาการของเยอรมนีตะวันตก นอกจากนี้แล้วยังสามารถใช้เพื่อยิงเข้าใส่ทหารราบโดยตรงได้อีกด้วย
ขีปนาวุธสกั๊ดใช้ตัวนำวิถีแบบเฉื่อยซึ่งจะทำงานอยู่สักระยะพร้อมกับเครื่องยนต์ อิรักใช้สกั๊ดเพื่อโจมตีใส่อิสราเอลและซาอุดิอาระเบีย ขีปนาวุธบางลูกสร้างความเสียหายมหาศาลในขณะที่บางลูกทำได้เพียงเล็กน้อย ความกลัวต่อสกั๊ดเพิ่มขึ้นเมื่อคาดกันว่าอิรักอาจใช้หัวรบที่เป็นอาวุธชีวภาพหรือเคมี แต่กระนั้นก็ไม่มีขีปนาวุธแบบดังกล่าวโจมตีใส่ที่ใด
ขีปนาวุธเพเทรียตของสหรัฐถูกนำมาใช้ในสงครามเป็นครั้งแรก กองทัพสหรัฐอ้างว่ามันสามารถจัดการกับขีปนาวุธสกั๊ดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การวิเคราะห์ภายหลังพบว่าขีปนาวุธเพเทรียตยิงถูกแค่ 9% เท่านั้น ในขณะที่ 45% เป็นการยิงใส่เศษซากของขีปนาวุธหรือยิงผิดเป้าหมาย กระทรวงกลาโหมของเนเธอร์แลนด์ที่ได้นำขีปนาวุธเพเทรียตไปใช้เพื่อปกป้องพลเรือนในอิสราเอลและตุรกี ได้อ้างในเวลาต่อมาว่าขีปนาวุธเพเทรียตทำได้ดีกว่านั้นนอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ครั้งหนึ่งที่ซอฟต์แวร์ของขีปนาวุธเกิดขัดข้องทำให้ไม่สามารถเข้าสกัดขีปนาวุธสกั๊ดได้และลงเอยด้วยการมีผู้เสียชีวิต ทั้งกองทัพสหรัฐและบริษัทผู้ผลิตขีปนาวุธยังคงย้ำว่าขีปนาวุธเพเทรียต"ทำหน้าที่ได้ราวกับปาฏิหารย์"ในสงครามอ่าว

การคว่ำบาตร


ในทศวรรษที่ 2533 สหรประชาชาติตัดสินใจที่จะลดระดับการคว่ำบาตรลงเพราะมีชาวอิรักมากมายได้รับผลเสีย หลายการศึกษายังคงถกเถียงกันว่ามีผู้คนมากแค่ไหนที่เสียชีวิตในเขตใต้และกลางของอิรักในช่วงที่มีการคว่ำบาตร
ในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2533 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติที่ 661 ออกมาหลังจากที่อิรักรุกรานคูเวต ซึ่งมติดังกล่าวทำให้เกิดการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิรัก ทำให้สินค้ามากมายรวมทั้งยา อาหาร และสิ่งของอื่นๆ ที่จำเป็นขาดแคลนในอิรัก ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533-2546 ผลจากนโยบายของรัฐบาลอิรักและการคว่ำบาตรทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง ส่งผลให้เกิดปัญหาความยากจนและอดอยากไปทั่วประเทศ

น้ำมันที่รั่วไหล

ในวันที่ 23 มกราคม อิรักได้ทิ้งน้ำมันดิบจำนวน 400 ล้านแกลลอน (1.5 ล้านลูกบาศก์เมตร) ลงในอ่าวเปอร์เซีย ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของน้ำมันนอกชายฝั่งครั้งที่เลวร้ายที่สุด ณ เวลานั้น รายงานกันว่าการกระทำดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อทำให้นาวิกโยธินสหรัฐไม่สามารถยกพลขึ้นบกได้ (เรือ"มิสซูรี"และ"วิสคอนซิน"ได้ระดมยิงใส่เกาะเฟลากาเพราะคิดว่าอิรักอาจเตรียมทำการโจมตีสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกจากเกาะดังกล่าว) ประมาณ 30–40% ของน้ำมันที่รั่วไหลเกิดจากการเข้าโจมตีเป้าหมายตามชายฝั่งโดยกองกำลังพันธมิตร

การเผาน้ำมันในคูเวต

การเผาน้ำมันของคูเวตเกิดขึ้นจากฝีมือของทหารอิรักที่วางเพลิงบ่อน้ำมัน 700 แห่งตามนโยบายเผาทำลายในตอนที่พวกเขาล่าถอยจากคูเวตในปีพ.ศ. 2534 การวางเพลิงเริ่มขึ้นในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 และควบคุมเพลิงได้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2534
สาเหตุที่ไม่สามารถควบคุมเพลิงไหม้ได้ก็เพราะว่าพื้นที่ดังกล่าวมีอันตรายเกินไปสำหรับนักดับเพลิง ทหารอิรักได้วางทุ่นระเบิดบกไว้ทั่วบริเวณบ่อน้ำมัน ทำให้ทหารต้องเข้าไปเก็บกู้ระเบิดก่อนที่จะส่งนักดับเพลิงเข้าไปดับไฟ ประมาณกันว่ามีน้ำมันถูกเผาไป 6 ล้านบาเรล (9.5 แสนลูกบาศก์เมตร) ในแต่ละวัน ในที่สุดทีมดับเพลิงเอกชนก็สามารถเข้าควบคุมเพลิงได้ โดยคูเวตเสียน้ำมันคิดเป็นเงินได้ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การลุกไหม้กินเวลา 10 เดือนซึ่งก่อให้เกิดมลพิษไปทั่วประเทศ

ค่าใช้จ่าย

สภาคองเกรสได้คำนวณจำนวนเงินที่สหรัฐใช้จ่ายไปกับสงครามเป็นจำนวน 61,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศอื่นๆ ใช้เงินไปประมาณ 52,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย คูเวต ซาอุดิอาระเบียและรัฐอาหรับอื่นๆ ในอ่าวเปอร์เซียใช้เงินไป 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เยอรมนีและญี่ปุ่นใช้เงินไป 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (แต่ไม่ได้ส่งทหารเข้าร่วมเพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ) 25% ของจากช่วยเหลือจากซาอุดิอาระเบียเป็นการช่วยเหลือทางด้านการบริหารให้กับทหาร เช่น อาหารและการเดินทาง 74% ของจำนวนทหารทั้งหมดเป็นทหารสหรัฐ จึงทำให้เป็นชาติที่ใช้เงินมากที่สุดในสงคราม

ผลกระทบต่อชาติกำลังพัฒนา

นอกจากผลกระทบต่อชาติในอ่าวเปอร์เซียแล้ว ผลกระทบอื่นๆ คือการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจหลักจากที่สงครามได้ส่งผลกระทบต่อหลายชาติ สถาบันการพัฒนาของต่างประเทศได้ทำการศึกษาขึ้นในปีพ.ศ. 2534 เพื่อเข้าถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนาและการตอบสนองของนานาประเทศ รายงานสรุปนั้นออกมาในวันสุดท้ายของสงครามโดยพบความเป็นไปได้สองอย่าง คือ ชาติกำลังพัฒนาหลายชาติจะได้รับผลกระทบอย่างหนักและแม้ว่าจะมีวิธีรับมือต่อวิกฤตการณ์ดังกล่าว แต่การกระจายความช่วยเหลือก็ต้องทำอย่างละเอียดมาก
สถาบันการพัฒนาในต่างประเทศได้ให้ปัจจัยในด้านของค่าเสียหายโดยประกอบด้วย การนำเข้าน้ำมัน กระแสเงินส่ง ค่านิคมที่ดิน ค่าเสียหายจากการส่งออกและการท่องเที่ยว อียิปต์สูญเงิน 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐและ 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เยเมนสูญเงิน 830 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในขณะที่จอร์แดนสูญเงิน 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 32% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
นานาประเทศจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการร่วมกันให้ความช่วยเหลือผ่านทางกลุ่มร่วมมือทางการเงินวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซีย (The Gulf Crisis Financial Co-ordination Group) มีประเทศทั้งหมด 24 ประเทศเข้าร่วมกลุ่ม โดยส่วนมากมาจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา และประเทศในอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และคูเวต สมาชิกของกลุ่มได้ตกลงที่จะกระจายเงินจำนวน 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าสู่การช่วยเหลือด้านการพัฒนา
ธนาคารโลกรับมือกับปัญหาด้วยการเร่งร่ายจ่ายของโครงการที่ดำเนินอยู่และปรับเงินกู้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้นำมาตรการการปล่อยเงินกู้เข้ามาใช้สองมาตรการ ได้แก่ การช่วยเสริมการปรับโครงสร้าง (Enhanced Structural Adjustment Facility) และการช่วยเหลือเงินชดเชยและเงินฉุกเฉิน (Compensatory & Contingency Financing Facility) ประชาคมยุโรปช่วยเหลือด้วยการเสนอเงินจำนวน 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

กัลฟ์วอร์ซินโดรม

ทหารของกองกำลังผสมหลายนายที่กลับมาถูกรายงานว่าเจ็บป่วยหลังจากที่พวกเขาได้มีส่วนร่วมในสงครามอ่าว อาการดังกล่าวถูกเรียกว่ากัลฟท์วอร์ซินโดรม (Gulf War syndrome) มีการไตร่ตรองอย่างแพร่หลายและการไม่เห็นด้วยถึงสาเหตุของอาการป่วย บางปัจจัยถูกมองว่าเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย อย่าง กระสุนยูเรเนียม อาวุธเคมี วัคซีนแอนแทร็กซ์ที่ทหารต้องได้รับ และการติดเชื้อ ผู้พันไมเคิล ดอนเนลลี่ อดีตนายทหารกองทัพอากาศสหรัฐในสงครามอ่าว ได้ช่วยกระจายข่าวของการเจ็บป่วยและเรียกร้องสิทธิให้กับทหารผ่านศึกเหล่านี้

ผลกระทบจากกระสุนยูเรเนียม


พื้นที่ที่คาดว่ามีกระสุนยูเรเนียมตกอยู่
กระสุนยูเรเนียม (Depleted uranium) ถูกใช้ในสงครามอ่าวเป็นกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลล์ของรถถังและกระสุนปืนใหญ่ขนาด 20-30 ม.ม. การใช้กระสุนแบบนี้ในสงครามอ่าวครั้งแรกถูกกล่าวว่าเป็นผลทำให้สุขภาพของทหารผ่านศึกและพลเรือนได้รับผลกระทบ

ทางหลวงมรณะ

ในคืนระหว่างวันที่ 26-27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 กองกำลังอิรักบางส่วนเริ่มล่าถอยออกจากคูเวตโดยใช้ทางหลวงหลักทางเหนือของอัล จาห์ราโดยมียานพาหนะประมาณ 1,400 คัน เครื่องบินอี-8 จอยท์สตาร์สลำหนึ่งที่กำลังลาดตระเวนก็พบกับขบวนทหารอิรักเข้าและส่งข้อมูลไปยังศูนย์ปฏิบัติการทางอากาศในริยาดห์ประเทศซาอุดิอาระเบีย ต่อมาขบวนรถดังกล่าวพร้อมทหารที่กำลังล่าถอยก็ถูกโจมตี ผลที่ตามมาคือซากรถและถนนยาว 60 กิโลเมตรที่มีชื่อว่า ทางหลวงมรณะ
ชัค ฮอร์เนอร์ ผู้บัญชาการปฏิบัติการทางอากาศของสหรัฐและกองกำลังผสมได้เขียนบันทึกไว้ว่า
[เมื่อถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์] ทหารอิรักสูญเสียขวัญกำลังใจและเริ่มล่าถอยออกจากคูเวต แต่กองกำลังทางอากาศได้หยุดขบวนรถของกองทัพอิรักและพวกปล้นสะดมจากการหนีไปยังบาสรา พวกสื่อเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "ทางหลวงมรณะ" แน่นอนว่ามีพาหนะถูกทำลายเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ได้มีผู้เสียชีวิตมากนัก พวกเขารู้ว่าต้องกระจายตัวออกไปตามทะเลทรายตอนที่เครื่องบินของเราทำการโจมตี กระนั้นบางคนที่นั่งอยู่ที่บ้านเลือกที่จะเชื่อว่าเราได้กระทำการอันโหดร้ายต่อศัตรูของเราที่พ่ายแพ้เรียบร้อยแล้ว [...]
ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ เริ่มมีการหารือเรื่องการกำจัดภัยคุกคาม คูเวตเป็นอิสระแล้ว เราไม่สนใจที่จะเข้าควบคุมอิรัก คำถามคือว่า "เราจะหยุดการฆ่าล้างได้อย่างไร"

การโจมตีของรถบูลโดเซอร์

นับเป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เน้นย้ำคำถามว่าทำไมอิรักจึงมีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงนัก เหตุการณ์นี้เรียกว่า"การจู่โจมด้วยรถบูลโดเซอร์" ซึ่งมีกองทหารสองกองจากกองพลทหารราบที่ 1 ของสหรัฐได้พบกับสนามเพลาะขนาดใหญ่ที่ซับซ้อนและเป็นส่วนหนึ่งของแนวป้องกันที่แน่นหนาที่เรียกกว่า"แนวซัดดัม ฮุสเซน" หลังจากการหารือพวกเขาก็ตัดสินใจใช้พลั่วกวาดทุ่นระเบิดที่ติดตั้งกับรถถังและเครื่องมือทหารช่างเข้าบดไถทหารอิรักที่กำลังป้องกันแนวทั้งเป็น หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งลงรายงานว่าผู้บัญชาการของสหรัฐคาดว่ามีทหารอิรักนับพันที่ยอมจำนนและรอดจากการถูกฝังทั้งเป็นซึ่งกินเวลานานสองวันตั้งแต่วันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 แพททริก เดย์ สโลยันจาก"นิวส์เดย์"รายงานว่า "ยานเกราะแบรดลีย์และยานลำเลียงหุ้มเกราะวัลแคนได้แล่นทับแนวสนามเพลาะพร้อมกับยิงเข้าใส่ทหารอิรัก ในขณะที่รถถังกลบฝังพวกเขาด้วยกองทราย 'ผมตามติดกองร้อยหน้าข้างหน้า' [ผู้พันแอนโธนี] มอรีโนกล่าว 'สิ่งที่เห็นคือสนามเพลาะที่ถูกฝังพร้อมกับคน' มีอาวุธและสิ่งของโผล่ขึ้นมาจากร่างเหล่านั้น...'" อย่างไรก็ตามหลังสิ้นสุดสงครามรัฐบาลอิรักได้อ้างว่าพวกเขาพบศพเพียง 44 ศพเท่านั้น ในหนังสือ"เดอะวอร์สอะเกนส์ทซัดดัม"ของจอห์น ซิมป์สันกล่าวหาทหารอเมริกันว่าพยายามปกปิดเรื่องที่เกิดขึ้น หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้บังคับบัญชาจากกรมทหารที่ 1 ออกมากล่าวว่า "ผมรู้ว่าการฝังกลบคนแบบนั้นเป็นเรื่องเลวร้าย แต่ผมคิดว่ามันจะเลวร้ายกว่ามากถ้าหากเราส่งทหารของเราเข้าไปในสนามเพลาะนั่นแหละจัดการศัตรูด้วยมีดปลายปืน"

การขับไล่ปาเลสไตน์ออกจากคูเวต พ.ศ. 2534

นโยบายขับไล่ของคูเวตนั้นมีเหตุมาจากการที่ผู้นำองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ยัสเซอร์ อาราฟัตเข้าร่วมกับซัดดัมก่อนที่จะมีการรุกรานคูเวต ก่อนหน้าสงครามมีชาวปาเลสไตน์ประมาณ 30% ของประชากรจำนวน 2 ล้านคนในคูเว การขับไล่เกิดขึ้นในสัปดาห์หนึ่งของเดือนมีนาคม พ.ศ. 2534 หลังจากที่คูเวตถูกปลดปล่อยแล้ว คูเวตได้ขับไล่ชาวปาเลสไตน์ประมาณ 3 แสนคนออกจากอาณาเขต ในปีพ.ศ. 2554 ชาวปลาเลสไตน์หลายคนได้กลับมายังคูเวตและปัจจุบันมีชาวปาเลสไตน์ในคูเวตประมาณ 9 หมื่นคน

การทำลายสิ่งก่อสร้างของพลเรือนโดยกองกำลังผสม

ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2534 หนังสือพิมพ์ "เดอะวอชิงตันโพสท์" ตีพิมพ์รายงานข่าวของบาร์ท เกลล์แมนว่า "หลายเป้าหมายถูกเลือกเพียงเพื่อเป็นเป้าหมายรองเพื่อช่วยให้กองทัพอิรักพ่ายแพ้. . . . นักการทหารหวังว่าการทิ้งระเบิดจะช่วยเร่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและทางจิตวิทยาจากการคว่ำบาตรอิรัก. . . . พวกเขาจงใจทำลายความสามารถของอิรักในการช่วยเหลือตนเองในฐานะสังคมอุตสาหกรรม. . . ." ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 หนังสือพิมพ์ "ฟอเรนแอฟแฟร์" ได้ตีพิมพ์ความคิดเห็นของนักการทูตชาวฝรั่งเศสเออคิก โคเลอร์ว่า "คนอิรักที่ไม่เห็นด้วยกับการรุกราน ต้องจ่ายค่าชดใช้ให้กับความบ้าคลั่งของรัฐบาลของพวกเขา. . . . ชาวอิรักเข้าใจถึงการลงมือทางทหารตามกฎหมายเพื่อขับไล่ทหารอิรักออกจากคูเวต แต่พวกเขาไม่เข้าใจว่าทำไมกองกำลังพันธมิตรถึงใช้กำลังทางอากาศโจมตีสิ่งก่อสร้างและอุตสาหกรรมของอิรัก ซึ่งรวมทั้ง โรงจ่ายไฟฟ้า (ถูกทำลายไป 92%) โรงกลั่นน้ำมัน (ถูกทำลายไป 80%) ย่านปิโตรเคมี ศูนย์สื่อสารระยะไกล (รวมทั้งเครือข่ายโทรศัพท์ 135 เครือข่าย) สะพาน (มากกว่าร้อยแห่ง) ถนน ทางหลวง ทางรถไฟ รถไฟพร้อมขบวนที่เต็มไปด้วยสินค้า สถานีถ่ายทอดสิทยุและโทรทัศน์ โรงงานซีเมนต์ และโรงงานผลิตอะลูมิเนียม สิ่งทอ สายไฟฟ้า และยา" อย่างไรก็ตามต่อมาสหประชาชาติได้ทุ่มเงินนับพันล้านเพื่อซ่อมแซมโรงเรียน โรงพยาบาล และโรงกรองน้ำทั่วอิรัก

การล่วงละเมิดนักเชลยศึกจากกองกำลังผสม

ในช่วงสงคราม นักบินของกองกำลังผสมที่ถูกยิงตกถูกจับเป็นเชลยศึกผ่านทางโทรทัศน์ พวกเขามีร่องรอยถูกทำร้ายที่เห็นได้ชัดเจน ท่ามกลางการให้การหลายครั้งถึงการได้รับการปฏิบัติที่เลวร้าย นักบินเครื่องพานาเวีย ทอร์นาโดของกองทัพอากาศอังกฤษ จอห์น นิโคลและจอห์น ปีเตอร์สต่างยอมรับว่าพวกตนถูกทรมานขณะถูกจับกุม นิโคลและปีเตอร์สถูกบังคับให้กล่าวต่อต้านสงครามออกโทรทัศน์ สมาชิกหลายคนของหน่วยบราโวทูซีโรจากหน่วยเอสเอเอสของอังกฤษถูกจับขณะทำภารกิจเก็บข้อมูลขีปนาวุธสกั๊ด มีเพียงคริส ไรอันเท่านั้นที่สามารถหนีการจับกุมมาได้ สมาชิกที่เหลือของทีมถูกทรมานอย่างทารุณ แพทย์อากาศหญิงรอนดา คอร์นัมถูกกระทำชำเราโดยทหารอิรักนายหนึ่งที่จับกุมเธอ หลังจากที่เครื่องแบล็คฮอว์คของเธอถูกยิงตกขณะกำลังตามหานักบินเอฟ-16 ที่เครื่องตก

ปฏิบัติการเซาท์เธิร์นวอท์ช

ด้วยเหตุจากสงครามสหรัฐจึงคงทหารจำนวน 5 พันนายเอาไว้ในซาอุดิอาระเบียและเพิ่มขึ้นเป็น 1 หมื่นนายในช่วงสงครามอิรัก พ.ศ. 2546 ปฏิบัติการเซาท์เธิร์นวอท์ชทำให้มีการบังคับใช้เขตห้ามบินเหนือพื้นที่ทางใต้ของอิรักหลังจากปีพ.ศ. 2534 การส่งออกน้ำมันผ่านอ่าวเปอร์เซียได้รับการคุ้มกันจากกองเรือที่ห้าของสหรัฐที่มีฐานในบาห์เรน
ด้วยเหตุที่ซาอุดิอาระเบียเป็นที่ตั้งของเมกกะและเมดินา สถานที่ศักดิ์สิทธิที่สุดของชาวมุสลิม ชาวมุสลิมมากมายจึงไม่พอใจที่มีทหารเข้ามาประจำการถาวรในเมือง การมีอยู่ของทหารสหรัฐในซาอุหลังจากสิ้นสุดสงครามเป็นหนึ่งในสาเหตุที่เป็นแรงจูงใจให้กับเหตุการณ์11 กันยายน การระเบิดหอโคบาร์ และการเลือกวันระเบิดสถานทูตสหรัฐ (7 สิงหาคม) ในปีพ.ศ. 2541 ซึ่งนับเป็นระยะเวลาแปดปีตั้งแต่ที่ทหารสหรัฐเข้าไปตั้งฐานในซาอุดิอาระเบีย โอซามา บิน ลาเดนย้ำเสมอว่าศาสดามุฮัมมัดได้ห้ามมิให้มี"การปรากฏตัวของพวกนอกศาสนาในพื้นที่ของอาหรับ" ในปีพ.ศ. 2539 บิน ลาเดนได้ทำการฟัตวาโดยเรียกร้องให้ทหารของสหรัฐถอยกำลังออกจากซาอุดิอาระเบีย ในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2542 บิน ลาเดนได้ให้สัมภาษณ์ว่าเขารู้สึกว่าชาวอเมริกัน "อยู่ใกล้เมกกะมากเกินไป" และมองว่าเป็นการกระทำที่ยั่วยุโลกอาหรับ

พลเรือน

จากการโจมตีทางอากาศที่หนักหน่วงทั้งด้วยเครื่องบินรบและขีปนาวุธร่อนทำให้เกิดข้อโต้เถียงเรื่องจำนวนพลเรือนที่เสียชีวิตในช่วงแรกของสงคราม ใน 24 ชั่วโมงแรกของสงคราม กองกำลังผสมได้ทำการบินกว่า 1 พันเที่ยวเพื่อโจมตีเป้าหมายในแบกแดด ตัวเมืองถูกระเบิดอย่างหนักเพราะว่าเป็นที่อยู่ของซัดดัมและศูนย์ควบคุมและบัญชาการของทหารอิรัก นี่เองเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของพลเรือน
ในเหตุการณ์หนึ่งเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัญได้เขาโจมตีบังเกอร์แห่งหนึ่งในอะมิริยาห์ ทำให้มีชาวอิรักเสียชีวิต 408 คน ภาพของสถานที่เกิดเหตุและศพถูกถ่ายทอดในเวลาต่อมาและข้อถกเถียงก็เพิ่มขึ้นจากเหตุทิ้งระเบิดบังเกอร์ บ้างก็บอกว่าชาวอิรักเหล่านั้นเป็นพลเรือน บ้างก็เห็นว่าบังเกอร์ดังกล่าวเป็นสูนย์ปฏิบัติการของอิรักและพลเรือนเหล่านั้นถูกนำไปใช้เป็นโล่มนุษย์
การสืบสวนของเบธ ออสบอร์น ดาปองต์ประมาณได้ว่ามีพลเรือนโดนทิ้งระบิดไป 3,500 คนและอีก 1 แสนคนได้รับผลกระทบอื่นๆ จากสงคราม

อิรัก

ไม่มีใครรู้ตัวเลขที่แน่ชัดของผู้เสียชีวิตฝ่ายอิรัก เชื่อกันว่าอิรักสูญเสียเป็นจำนวนมหาศาล กล่าวกันว่าอิรักเสียทหารไปประมาณ 2 หมื่นถึง 35,000 นาย รายงานจากกองทัพอากาศสหรัฐคาดว่ามีฝ่ายอิรักเสียชีวิต 10,000-12,000 คนจากการทัพทางอากาศ และอีก 1 หมื่นคนจากการทัพทางบกการประเมินนี้มีพื้นฐานมาจากรายงานของเชลยศึกชาวอิรัก
รัฐบาลอิรักอ้างว่ามีพลเรือนเสียชีวิต 2,300 รายจากการทัพทางอากาศ จากการศึกษาโครงการการป้องกันทางเลือก มีพลเรือนอิรักเสียชีวิต 3,664 ราย ทหารอิรักเสียชีวิตประมาณ 20,000-26,000 นายและบาดเจ็บอีก 75,000 นาย

กองกำลังผสม

ทหารที่เสียชีวิตตามลำดับประเทศ
ประเทศจำนวนทั้งสิ้นจากศัตรูจากอุบัติเหตุยิงกันเอง
 สหรัฐอเมริกา29411414535
 เซเนกัล9292
 สหราชอาณาจักร47389
ซาอุดีอาระเบีย ซาอุดิอาระเบีย24186
 ฝรั่งเศส99
 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์66
 กาตาร์33
 ซีเรีย2
 อียิปต์115
 คูเวต11
กระทรวงกลาโหมสหรัฐรายงานว่าสหรัฐสูญเสียทหารไป 148 นายจากการรบ  พร้อมกับนักบินหนึ่งนายสูญหายขณะปฏิบัติหน้าที่ (ร่างของเขาถูกพบและระบุตัวในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552) อีก 145 นายเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสหราชอาณาจักรเสียทหารไป 49 นาย (9 นายจากการยิงกันเองโดยสหรัฐ) ฝรั่งเศสสูญเสีย 2 นาย และชาติอื่นๆ 37 นาย (ซาอุ 18 นาย อียิปต์ 1 นาย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 6 นาย กาตาร์ 3 นาย) ไม่รวมคูเวต  มีทหารคูเวตอย่างน้อย 605 นายที่หายสาบสูญหลังจากถูกจับเป็นเชลยถึง 10 ปี
การสูญเสียในครั้งเดียวที่เยอะที่สุดของกองกำลังผสมเกิดขึ้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เมื่ออิรักยิงขีปนาวุธอัลฮุสเซนใส่ค่านทหารสหรัฐในดาห์รานประเทศซาอุดิอาระเบีย สังหารกองกำลังสำรองของสหรัฐไป 28 นาย โดยรวมแล้วทหารกองกำลังผสมถูกสังหารโดยฝ่ายอิรัก 190 นาย 113 นายเป็นชาวอเมริกันจากกองกำลังผสมทั้งหมด 358 นายที่เสียชีวิต ทหารอีก 44 นายถูกสังหารและได้รับบาดเจ็บอีก 57 นายจากการยิงพวกเดียวกันเอง มีทหาร 145 นายเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรบ
อุบัติเหตุครั้งร้ายแรงที่สุดเกิดขึ้นในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2534 เมื่อเครื่องบินซี-130 ของกองทัพอากาศซาอุดิอาระเบียตกขณะบินลงที่สนามบินราส อัล มิชาบปประเทศซาอุดิอาระเบีย ทำให้ทหารเซเนกัล 92 นายเสียชีวิต
กองกำลังผสมมีทหารที่ได้รับบาดเจ็บประมาณ 776 นาย เป็นทหารอเมริกัน 458 นาย
ทหารกองกำลังผสม 190 นายถูกสังหารโดยกองกำลังอิรัก ที่เหลืออีก 379 นายเสียชีวิตจากการยิงกันเอง อย่างไรก็ดีที่จำนวนดังกล่าวต่ำกว่าที่คาดการณ์กันไว้ มีทหารหญิงอเมริกัน 3 นายเสียชีวิต

การยิงกันเอง

ในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตของกองกำลังผสมโดยกองกำลังอิรักมีจำนวนน้อยมาก แต่จำนวนที่เกิดจากการยิงกันเองกลับพุ่งขึ้นสูง จากจำนวนทหารสหรัฐ 148 นายที่เสียชีวิตในการรบ คิดเป็นทั้งหมด 35 นาย อีก 11 นายเสียชีวิตจากการชุดระเบิดของฝ่ายเดียวกันเอง ทหารอังกฤษ 9 นายถูกสังหารโดยฝ่ายเดียวกันเมื่อเครื่องบินเอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 ลำหนึ่งของสหรัฐยิงเข้าใส่ยานพาหนะต่อสู้ทหารราบสองคันของอังกฤษ

ข้อโต้เถียง

การมีส่วนร่วมของกองกำลังผสม


กองกำลังผสมจากอียิปต์ ซีเรีย โอมาน และคูเวตในปฏิบัติการพายุทะเลทราย
สมาชิกในกองกำลังผสมประกอบด้วย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บาเรนห์ บังกลาเทศ เบลเยียม แคนาดา เชกโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก อียิปต์ ฝรั่งเศส กรีซ ฮอนดูรัส ฮังการี อิตาลี คูเวต มาเลเซีย โมรอกโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ไนเจอร์ นอร์เวย์ โอมาน ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ โปรตุเกส กาตาร์ โรมาเนีย ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล เกาหลีใต้ สเปน สวีเดน ซีเรีย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
เยอรมนีและญี่ปุ่นให้การช่วยเหลือทางการเงินและบริจาคอุปกรณ์ทางทหาร แต่ไม่ได้ส่งกองกำลังใดๆ เข้าร่วมรบ ต่อมาวิธีดังกล่าวถูกเรียกว่า การทูตแบบสมุดเช็ค

สหราชอาณาจักร


รถถังชาลเลนเจอร์ 1 ของกองทัพบกอังกฤษในปฏิบัติการพายุทะเลทราย
สหราชอาณาจักรเป็นชาติยุโรปที่ส่งกองทัพเข้าร่วมรบมากที่สุดในสงคราม ปฏิบัติการทั้งหลายในสงครามอ่าวถูกเรียกว่าปฏิบัติการแกรนบี้ กองพลจากกองทัพบกอังกฤษ (ส่วนใหญ่มาจากกองพลยานเกราะที่ 1) กองทัพอากาศ และกองทัพเรือเข้าร่วมในสงครามอ่าว กองทัพอากาศอังกฤษใช้ฐานบินในซาอุดิอาระเบีย มียานเกราะเกือบ 2,500 คันและทหาร 53,462 นายถูกส่งมาทางเรือ
เรือกของราชนาวีอังกฤษประกอบด้วยเรือฟริเกตชั้น"บรอดซอร์ด"และเรือพิฆาตรชั้น"เชฟฟิลด์" นอกจากนี้ยังมีกองเรือสนับสนุนบางส่วนร่วมด้วย เรือบรรทุกอากาศยานขนาดเบาเอชเอ็มเอส "อาร์คโรยัล"เข้าประจำตำแหน่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
หน่วยปฏิบัติการพิเศษจากหน่วยเอสเอเอสก็เข้าร่วมเช่นกัน

ฝรั่งเศส


ทหารสหรัฐและฝรั่งเศสกำลังตรวจดูซากรถถังไทป์ 69 ของอิรักที่ถูกทำลายโดยกองพลยานเกราะขนาดเบาที่ 6 ของฝรั่งเศสในปฏิบัติการพายุทะเลทราย
อีกชาติยุโรปที่ส่งทหารเข้าร่วมรบมากเป็นอันดับสองคือฝรั่งเศส โดยส่งทหารเข้าร่วมศึก 18,000 นาย ฝรั่งเศสทำหน้าที่รักษาปีกซ้ายของกองพลน้อยขนส่งทางอากาศที่ 18 ของสหรัฐ กองกำลังหลักของฝรั่งเศสมาจากกองพลยานเกราะขนาดเบาที่ 6 และทหารจากกองพลรบต่างแดนของฝรั่งเศส เริ่มแรกฝรั่งเศสปฏิบัติการแยกต่างหากจากกองกำลังอื่น แต่อาศัยการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับทหารอเมริกันและซาอุ ในเดือนมกราคมกองพลดังกล่าวได้ทำงานภายใต้การควบคุมของกองพลน้อยขนส่งทางอากาศที่ 18 ฝรั่งเศสยังได้ส่งอากาศยานและเรือเข้ารบเช่นกัน ฝรั่งเศสเรียกปฏิบัติการทั้งหมดว่าปฏิบัติการดาเก

แคนาดา

A fighter jet taking off from a runway
ซีเอฟ-18 ฮอร์เน็ทของแคนาดาที่มีส่วนร่วมในสงครามอ่าว
แคนาดาเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับการรุกรานของอิรักและเข้าร่วมกับกองกำลังผสมอย่างรวดเร็ว ในเดอืนสิงหาคม พ.ศ. 2533 นายกรัฐมนตรีไบรอัน มัลโรนีย์ได้สั่งการให้กองกำลังของแคนาดาสร้างกองเรือเฉพาะกิจขึ้นมา เรือพิฆาตรเอชเอ็มซีเอส "อธาบัสคัน"และเอชเอ็มซีเอส "เทอร์ราโนวา"เข้าร่วมรบพร้อมกับการสนับสนุนจากเรือเอชเอ็มซีเอส "โพรเทกเตอร์"ในปฏิบัติการฟริกชัน กลุ่มเรือเฉพาะกิจของแคนาดาได้นำการหนุนกำลังของกองกำลังผสมเข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย เรือลำที่สี่คือเรือเอชเอ็มซีเอส "ฮูรอน" ซึ่งเข้ามาหลังจากที่ทีการหยุดยิงและเป็นเรือพันธมิตรลำแรกที่เข้าเยี่ยมคูเวต
หลังจากที่มีการอนุญาตให้ใช้กำลังกับอิรัก กองกำลังของแคนาดาก็นำฝูงบินซีเอฟ-18 ฮอร์เน็ทและซีเอช-124 ซีคิงพร้อมกับทหารอากาศเข้ารวมการรบ นอกจากนี้ยังมีศูนย์พยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้บาดเจ็บจากการรบภาคพื้นดินอีกด้วย เมื่อการศึกทางอากาศเริ่มต้นขึ้น ซีเอฟ-18 ก็เข้าร่วมกับกองกำลังผสมและได้รับหน้าที่ปกป้องและโจมตีเป้าหมายบนพื้นดิน นี่เป็นครั้งแรกตั้งแต่สงครามเกาหลีที่กองทัพแคนาดาได้มีบทบาททางทหารในเชิงรุก มีซีเอฟ-18 เพียงลำเดียวที่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการว่าได้เอาชนะเครื่องบินของศัตรูในการรบในยุทธการบูบียัน
ผู้บัญชาการของแคนาดาที่ทำหน้าที่ในตอนนั้นคือผู้การผู้การเคนเนธ เจ. ซัมเมอร์ส

ออสเตรเลีย


เรือเอชเอ็มเอเอส "ซิดนีย์"ในอ่าวเปอร์เซียเมื่อปีพ.ศ. 2534

ออสเตรเลียได้ส่งกองเรือเฉพาะกิจเข้าร่วมสงคราม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือนานาชาติในอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานในปฏิบัติการดามาส์ค นอกจากนี้แล้วยังมีทีมแพทย์ที่ทำหน้าที่บนเรือพยาบาลของสหรัฐแและทีมกวาดทุ่นระเบิดใต้น้ำที่ได้ทำการกำจัดทุ่นระเบิดที่ท่าเรือของคูเวตหลังจากการรบสิ้นสุดลง
แม้ว่ากองกำลังของออสเตรเลียจะไม่ได้ทำการปะทะใดๆ แต่พวกเขาก็มีบทบาทสำคัญในการคว่ำบาตรอิรัก เช่นเดียวกับการให้การสนับสนุนอื่นๆ ในปฏิบัติการพายุทะเลทราย หลังจากสิ้นสุดสงครามออสเตรเลียได้ส่งหน่วยแพทย์ไปทำหน้าที่ในปฏิบัติการฮาบิแทตที่ทางตอนเหนือของอิรัก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการโพรไวด์คอมเฟิร์ท

อาร์เจนตินา

อาร์เจนตินาได้เข้าร่วมในปฏิบัติการบิชอปด้วยการส่งเรือพิฆาตรเออาร์เอ "อัลมิรันเตบราวน์"และเรือคอร์เวตเออาร์เอ "สปิโร" ต่อมาทั้งสองลำถูกแทนที่ด้วยเรือคอร์เวตเออาร์เอ "โรซาเลส"และเรือขนส่งเออาร์เอ "บาเฮียซานบลาส"

กำลังพลสูญเสีย

การวิเคราะห์เชิงทหารหลังการรบ

กองกำลังผสมมีทหาร 540,000 นายพร้อมกับอีก 1 แสนนายจากกองทัพตุรกีที่วางกำลังตามแนวชายแดนตุรกี-อิรัก สิ่งนี้ทำให้อิรักต้องกระจายทหารของตนไปตามแนวชายแดนทั้งหมด ดังนั้นกำลังรุกหลักโดยสหรัฐจึงสามารถบุกทะลวงได้โดยอาศัยความได้เปรียบทางเทคโนโลยีและจำนวนที่มากกว่าแม้ว่าสื่อตะวันตกในตอนนั้นได้รายงานว่ามีทหารอิรักประมาณ 545,000-600,000 นายในการรบ แต่ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่าข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพของกองทัพอิรักนั้นกล่าวกันเกินจริง เพราะข้อมูลเหล่านั้นนับรวมกองกำลังช่วยคราวและกองกำลังสนับสนุนเข้าไปด้วย ทหารอิรักจำนวนมากเป็นคนหนุ่มและเป็นทหารเกณฑ์ที่ฝึกมาน้อย
การที่อิรักได้รับการสนับสนุนเมื่อครั้งสงครามอิหร่าน-อิรักทำให้อิรักมีอาวุธมากมายจากชาติผู้ค้าอาวุธระดับโลก อิรักจึงไม่มีมาตรฐานในการคัดเลือกสรรพาวุธทำให้กองทัพอิรักมีกความหลากหลายเกินไปซึ่งรวมทั้งการได้รับการฝึกที่ไม่มีมาตรฐานและทหารที่ขาดแรงผลักดัน กองกำลังส่วนใหญ่ของอิรักเคยชินกับการใช้รถถังรุ่นเก่าอย่างไทป์ 59 และไทป์ 69 ของจีนและที-55 ของโซเวียตที่มีมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 2493 และ 2503 นอกจากนี้ยังมีรถถังคุณภาพต่ำอย่าง[[สิงโตแห่งบาบิโลน (รถถัง)]อะซัดบาบิล]] (เป็นรถถังที่ดัดแปลงมาจากที-72 ของโปแลนด์) รถถังเหล่านี้ไม่มีอุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น กล้องมองกลางคืนหรือเลเซอร์วัดระยะ ทำให้ประสิทธิภาพในการรบนั้นด้อยคุณภาพ
ทหารอิรักไม่สามารถหามาตรการตอบโต้กล้องจับความร้อนและกระสุนแซบบอตของกองกำลังผสมได้ อุปกรณ์เหล่านี้เองที่ทำให้รถถังฝ่ายพันธมิตรมีความเหนือกว่าและสามารถทำลายรถถังของอิรักจากระยะที่ไกลกว่าถึงสามเท่า ทหารอิรักใช้กระสุนเจาะเหล็กกล้าเพื่อจัดการกับเกราะช็อบแฮมที่ก้าวหน้าของรถถังสหรัฐและอังกฤษ ผลคือกระสุนดังกล่าวไร้ประโยชน์ ทหารอิรักไม่สามารถอาศัยความได้เปรียบในการสงครามในเมืองด้วยสู้รบภายในคูเวตซิตี ซึ่งอาจสามารถสร้างความเสียหายแก่กองกำลังผสมได้มหาศาล การรบในเมืองนั้นจะลดระยะในการสู้รบและทำให้กองกำลังที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้าเสียเปรียบได้
ทหารอิรักยังได้พยายามที่จะใช้รูปแบบการรบแบบโซเวียตอีกด้วย แต่ก็ต้องล้มเหลวเพราะผู้บังคับบัญชาของอิรักนั้นขาดทักษะ ประกอบกับการที่กองทัพอากาศของกองกำลังผสมได้เข้าทำลายศูนย์สื่อสารหลักและบังเกอร์ของอิรัก

กำลังของศัตรูถูกกำจัด


กลุ่มพลเรือนและกองกำลังผสมกำลังโบกธงชาติคูเวตและซาอุดิอาระเบียเพื่อฉลองชัยชนะในปฏิบัติการพายุทะเลทรายที่ทำให้กองกำลังอิรักล่าถอยออกจากคูเวต

เหรียญทหารผ่านศึกสงครามอ่าวที่มอบให้กับทหารสหรัฐ
ในพื้นที่ยึดครองของกองกำลังผสมในอิรักได้เกิดการประชุมเพื่อสันติภาพขึ้นเพื่อทำข้อตกลงหยุดยิงโดยเป็นที่ยินยอมของทั้งสองฝ่าย ในการประชุมดังกล่าวอิรักได้รับอนุญาตให้ใช้เฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธได้ในชายแดนชั่วคราวฝั่งตนเองเพื่อลำเลียงบุคคลของรัฐบาลเพราะส่วนภาคพลเรือนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ไม่นานหลังจากนั้นเฮลิคอปเตอร์เหล่านั้นและกองทหารของอิรักก็ได้ปะทะกับการจลาจลทางตอนใต้ของอิรัก กลุ่มกบฎได้รับการปลุกใจจากการออกอากาศของรายการ"เดอะวอยซ์ออฟฟรีอิรัก"เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ซึ่งออกอากาศมาจากสถานีวิทยุที่ควบคุมโดยซีไอเอที่ตั้งอยู่นอกซาอุดิอาระเบีย ฝ่ายงานอาหรับจากวอยซ์ออฟอเมริกาได้สนับสนุนการจลาจลโดยกล่าวว่ากลุ่มกบฎมีขนาดใหญ่และไม่นานพวกเขาจะสามารถปลดแอกจากซัดดัมได้
ในทางเหนือของอิรัก ผู้นำกลุ่มชาวเคิร์ดได้รับฟังคำกล่าวของอเมริกาที่ว่าพวกเขาจะให้การสนับสนุนการจลาจลด้วยใจจริงและเริ่มต่อสู้พร้อมกับหวังว่าจะเกิดการรัฐประหารขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อขาดการสนับสนุนโดยสหรัฐ นายพลของอิรักก็ยังคงภักดีต่อซัดดัมและเข้าบดขยี้การจลาจลของชาวเคิร์ดอย่างโหดเหี้ยม ชาวเคิร์ดนับล้านอพยพออกนอกประเทศไปยังตุรกีและอิหร่าน เหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลให้เกิดเขตห้ามบินในทางตอนเหนือและใต้ของอิรักในเวลาต่อมา ในคูเวตเจ้าชายได้กลับสู่บัลลังก์และเหล่าผู้สมรู่ร่วมคิดกับอิรักก็ถูกปราบปราม ท้ายที่สุดมีประชากร 4 แสนคนถูกขับไล่ออกจากประเทศรวมทั้งชาวปาเลสไตน์จำนวนมากเพราะองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์สนับสนุนซัดดัม ยัสเซอร์ อาราฟัตไม่ออกมาขอโทษเรื่องที่เขาสนับสนุนอิรัก แต่หลังจากเสียชีวิต พรรคฟาตาห์ก็ออกมาแสดงความเสียใจอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2547
ฝ่ายบริหารประเทศของบุชถูกวิจารณ์เช่นกัน เพราะพวกเขายอมให้ซัดดัมอยู่ในอำนาจต่อแทนที่จะเข้ายึดกรุงแบกแดดและโค่นล้มรัฐบาลอิรัก ในหนังสืออะเวิลด์ทรานส์ฟอร์มที่เขียนโดยบุชและเบรนท์ สโคว์ครอฟท์ พวกเขาถกเถียงกันว่าหากเข้ายึดอิรักเหล่าพันธมิตรก็จะเกิดการแตกแยกและอาจทำให้เกิดการสูญเสียทางการเมืองและมนุษย์อย่างไม่จำเป็น
ในปีพ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐดิก เชนีย์ได้แสดงความคิดเห็นเช่นเดียวกัน
ผมคิดว่าหากเราเข้าไปในอิรักเราก็อาจมีกำลังทหารในกรุงแบกแดดถึงทุกวันนี้ เราอาจได้ควบคุมประเทศ เราอาจไม่สามารถพาทุกคนออกจากที่นั่นและกลับบ้านได้
สิ่งสุดท้ายที่ผมต้องคิดคำนึงคือการสูญเสีย ผมไม่คิดว่าเราจะสามารถดำเนินการตามนั้นทั้งหมดโดยไม่สูญเสียทหารสหรัฐเพิ่ม ขณะที่ทุกคนประทับใจกับการที่เราสูญเสียทหารไปไม่มากนักในการรบ (ในปีพ.ศ. 2534) แต่สำหรับทหาร 146 นายที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่และสำหรับครอบครัวของพวกเขา มันเป็นสงครามราคาแพง
คำถามในใจผมคือ ซัดดัมมีค่ามากแค่ไหนที่เราจะยอมสูญเสียทหารอเมริกันเพิ่มอีก คำตอบก็คือ ไม่เลย ผมจึงคิดว่าเราควรทำสิ่งที่ถูกต้อง ทั้งตอนที่เราตัดสินใจขับไล่เขาออกจากคูเวตและตอนที่ท่านประธานาธิบดีตัดสินใจว่าเราได้บรรลุเป้าหมายแล้วและเราจะไม่ยอมให้มีปัญหาใดจากการพยายามยึดครองอิรักมาหยุดพวกเรา
— ดิก เชนีย์
ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2534 ทหารสหรัฐจำนวน 540,000 นายเริ่มทำการถอนกำลังออกจากอ่าวเปอร์เซีย

กองกำลังผสมตราทัพเข้าอิรัก


ยานพาหนะของทหารและพลเรือนอิรักที่ถูกทำลายบนทางหลวงมรณะ

ภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นซากที-72 บีเอ็มพี-1 และไทป์ 63 พร้อมรถบรรทุกของอิรักบนทางหลวงหมายเลข 8 เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2534

การใช้นโยบายทำลายเพื่อตัดกำลังศัตรูของอิรักถูกนำมาใช้กับบ่อน้ำมันในคูเวต
ไม่นานนักในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ก็เกิดการโจมตีทหารอิรักที่อยู่ทางตะวันตกของคูเวตโดยกองพลน้อยที่ 5 ของสหรัฐอย่างเต็มอัตราโดยมีกรมทหารม้ายานเกราะที่ 2 เป็นหัวหอก ในขณะเดียวกันกองพลน้อยทางอากาศที่ 18 ของสหรัฐก็เปิดการโจมตีจากทางซ้ายผ่านทะเลทรายทางใต้ของอิรักโดยมีหัวหอกเป็นกรมทหารม้ายานเกราะที่ 3 และกองพลทหารราบที่ 24 ของสหรัฐ ทางปีกซ้ายของการโจมตีได้รับการคุ้มครองโดยกองพลยานเกราะเบาที่ 6 ของฝรั่งเศส
กองกำลังฝรั่งเศสเข้าปะทะกับกองพลทหารราบที่ 45 ของอิรักอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเศสสูญเสียทหารไปเล็กน้อยและสามารถจับเชลยได้เป็นจำนวนมาก จากนั้นก็รักษาตำแหน่งเพื่อป้องกันการตอบโต้จากอิรัก ทางปีกขวาได้รับการคุ้มกันโดยกองพลยานเกราะที่ 1 ของอังกฤษ เมื่อกองกำลังพันธมิตรบุกทะลวงลึดเข้าไปในเขตของอิรักก็เลี้ยวไปทางตะวันออกเพื่อเริ่มการโจมตีโอบกองทหารริพับลิกันการ์ดก่อนที่พวกเขาจะหลบหนีไป อิรักทำการต่อสู้อย่างดุเดือดในที่มั่น
การปะทะครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อนๆ เพราะทหารอิรักไม่ยอมแพ้หลังจากที่รถถังคันของฝ่ายตนถูกทำลาย ทหารอิรักสูญเสียเป็นจำนวนมาก รวมทั้งยานพาหนะและรถถังจำนวนมากเช่นกัน ในขณะที่สหรัฐสูญเสียน้อยมากโดยเสียยานเกราะไปเพียงหนึ่งคัน กองกำลังผสมรุกเข้าไปอีก 10 กิโลเมตรและบรรลุเป้าหมายภายในสามชั่วโมง พวกเขาจับเชลยได้ 500 นายและสร้างความเสียหายเป็นจำนวนมหาศาลด้วยการเอาชนะกองพลทหารราบที่ 26 ของอิรัก มีทหารสหรัฐหนึ่งนายเสียชีวิตจากกับระเบิด อีกห้าคนเสียชีวิตเพราะยิงกันเอง และอีกสามสิบได้รับบาดเจ็บขณะปะทะ ขณะเดียวกันกองกำลังของอังกฤษก็เข้าโจมตีกองพลเมดินาและฐานส่งกำลังบำรุงของริพับลิกันการ์ด เกือบสองวันที่มีการรบกันดุเดือดที่สุด อังกฤษได้ทำลายรถถังไป 40 คันและสามารถจับตัวผู้บังคับบัญชากองพลได้หนึ่งนาย
ขณะเดียวกันกองกำลังของสหรัฐก็เข้าโจมตีหมู่บ้านอัลบูเซย์ยาห์และพบกับการต่อต้านที่รุนแรง สหรัฐไม่มีการสูญเสียแต่สามารถทำลายยุทโธปกณ์พร้อมกับจับเชลยได้เป็นจำนวนมาก
ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 กองกำลังอิรักได้ยิงขีปนาวุธสกั๊ดใส่ค่ายทหารของอเมริกาในเมืองดาห์รานในซาอุดิอาระเบีย สังหารทหารอเมริกาไป 28 นาย
การรุกคืบของกองกำลังผสมทำได้รวดเร็วกว่าที่นายพลของสหรัฐคาดการณ์เอาไว้ ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ทหารอิรักก็เริ่มถอยทัพออกจากคูเวตหลังจากที่พวกเขาวางเพลิงทุ่งน้ำมัน (มีบ่อน้ำมัน 737 แห่งถูกเผา) ขบวนทหารอิรักที่ล่าถอยเคลื่อนขบวนไปตามทางหลวงอิรัก-คูเวต แม้ว่าพวกเขากำลังล่าถอยแต่ขบวนรถก็ถูกโจมตีอย่างรุนแรงโดยกองทัพอากาศของกองกำลังผสมทำให้ถนนสายนั้นได้ชื่อว่าทางหลวงมรณะ ทหารอิรักนับร้อยถูกสังหาร กองกำลังทั้งสหรัฐ อังกฤษ และฝรั่งเศสดำเนินการไล่ล่าทหารอิรักที่ล่าถอยต่อตั้งแต่ชายแดนจนไปถึงอิรัก จนในที่สุดก็ห่างจากกรุงแบกแดดเพียง 240 กิโลเมตรก่อนที่จะถอยกลับไปยังชายแดนอิรักที่ติดกับคูเวตและซาอุดิอาระเบีย
ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ หลังจากผ่านการศึกทางบกได้ 100 ชั่วโมง ประธานาธิบดีบุชก็ประกาศหยุดยิงและประกาศว่าคูเวตเป็นอิสระแล้ว

เริ่มต้นบุกอิรัก


ที-62 ของอิรักที่ถูกทำลายโดยกองพลยานเกราะที่ 3 ของสหรัฐ
การทัพทางบกถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่าปฏิบัติการดีเซิร์ทเซเบอร์
หน่วยรบแรกที่ถูกส่งเข้าไปยังอิรักคือหน่วยลาดตระเวนสามหน่วยจากหน่วยเอสเอเอสของอังกฤษ โดยมีรหัสว่า บราโววันซีโร บราโวทูซีโร และบราโวทรีซีโร หน่วยลาดตระเวนหน่วยละแปดนายนี้ได้เข้าไปยังหลังแนวของอิรักเพื่อรวบรวมข้อมูลของขีปนาวุธสกั๊ด ซึ่งไม่สามารถตรวจพบด้วยเครื่องบินได้ เพราะพวกมันถูกซ่อนไว้ใต้สะพานและถูกอำพรางในตอนกลางวัน อีกเป้าหมายหนึ่งคือการทำลายสายสื่อสารไฟเบอร์ออพติกที่อยู่ในท่อและตัวส่งสัญญาณไปยังเครื่องยิงขีปนาวุธสกั๊ด ปฏิบัติการนี้มีเพื่อป้องกันไม่ให้อิสราเอลเข้าแทรกแซง แต่เนื่องจากไม่มีที่กำบังเพียงพอที่จะทำภารกิจทำให้บราโววันซีโรและบราโวทรีซีโรต้องยกเลิกภารกิจ ในขณะที่บราโวทูซีโรดำเนินภารกิจต่อจนกระทั่งพวกเขาถูกตรวจพบ มีเพียงสิบเอกคริส ไรอันเท่านั้นที่สามารถหลบหนีไปยังซีเรียได้
ทหารบางส่วนจากกองพลน้อยที่ 2 กรมทหารม้าที่ 5 จากกองพลทหารม้าที่ 1 ของสหรัฐเข้าทำการโจมตีโดยตรงใส่อิรักในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ตามมาด้วยการโจมตีอีกครั้งในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ตั้งแต่วันที่ 15-20 กุมภาพันธ์ได้เกิดยุทธการวาดิอัลบาตินขึ้นในอิรัก เหตุการณ์นี้เป็นการโจมตีครั้งแรกในสองครั้งโดยกองพันที่ 1 กรมทหารม้าที่ 5 จากกองพลทหารม้าที่ 1 การโจมตีครั้งนั้นเป็นการโจมตีหลอกล่อเพื่อให้ทหารอิรักคิดว่ากองกำลังผสมจะทำการรุกจากทางใต้ ทหารอิรักทำการป้องกันอย่างดุเดือดทำให้ทหารอเมริกันต้องล่าถอยตามแผนไปยังวาดิอัลบาติน ทหารสหรัฐสามนายถูกสังหารและได้รับบาดเจ็บเก้านาย ยานพาหนะต่อสู้ทหารราบสูญเสียป้อมปืนไปหนึ่ง แต่สามารถจับเชลยได้ 40 นายและทำลายรถถัง 5 คันพร้อมกับลวงอิรักได้สำเร็จ การโจมตีครั้งนี้นำด้วยกองพลน้อยทางอากาศที่ 18 เพื่อกวาดพื้นที่หลังกองพลทหารม้าที่ 1 และโจมตีกองทหารอิรักทางทิศตะวันตก ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 อิรักเห็นด้วยกับข้อตกลงหยุดยิงที่โซเวียตเสนอ ข้อตกลงดังกล่าวเรียกร้องให้อิรักถอนทหารให้ไปอยู่ในตำแหน่งก่อนการรุกรานคูเวตภายใน 6 อาทิตย์และให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเฝ้าดูการหยุดยิงและล่าถอยของอิรัก
กองกำลังผสมปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวแต่ให้การว่าจะไม่ทำการโจมตีทหารอิรักที่ล่าถอยและให้เวลา 24 ชั่วโมงเพื่อเริ่มการล่าถอย ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์มีทหารอิรักถูกจับเป็นเชลย 500 นาย ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์กองกำลังยานเกราะของอังกฤษและสหรัฐจำนวนมหาศาลข้ามชายแดนอิรักคูเวตและเข้าไปยังอิรักพร้อมจับเชลยได้นับร้อย อิรักทำการต่อต้านเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สหรัฐสูญเสียทหารไป 4 นาย

ปลดปล่อยคูเวต

สหรัฐได้วางแผนหลอกล่ออิรักด้วยการโจมตีทางอากาศและทางเรือในคืนก่อนการปลดปล่อยคูเวตเพื่อให้อิรักเชื่อว่ากองกำลังหลักจะเข้าโจมตีส่วนกลางของคูเวต

รถถังจากกองพลยานเกราะที่ 3 ของสหรัฐ

ไทป์ 69 ของอิรักบนถนนในคูเวตซิตี

รถถังสองคันของอิรักที่ถูกทิ้งไว้ใกล้คูเวตซิตีในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
เป็นเวลาหลายเดือนที่ทหารของอเมริกาในซาอุดิอาระเบียต้องตกอยู่ภายใต้การยิงจากอิรักและขีปนาวุธสกั๊ด ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 กองนาวิกโยธินที่ 1 และ 2 พร้อมกับกองพันทหารยานเกราะเบาที่ 1 ได้เข้าไปยังตูเวตและมุ่งหน้าไปยังคูเวตซิตี พวกเขาปะทะกับแนวสนามเพลาะ ลวดหนาม และทุ่งกับระเบิด อย่างไรก็ตามอิรักมีการป้องกันที่เบาบางและถูกเอาชนะภายในไม่กี่ชั่วโมงแรก การรบระหว่างรถถังจำนวนมากเกิดขึ้นแต่นอกจากนั้นแล้วกองกำลังผสมก็พบเพียงการต่อต้านเพียงเล็กน้อยเพราะทหารอิรักส่วนใหญ่เลือกที่จะยอมจำนน วิธีทั่วไปของทหารอิรักคือสู้ก่อนสักเล็กน้อยแล้วค่อยยอมแพ้ อย่างไรก็การป้องกันทางอากาศของอิรักได้ยิงอากาศยานของสหรัฐตกได้ถึง 9 ลำ ในขณะเดียวกันกองกำลังจากประเทศอาหรับก็รุกคืบเข้าไปในคูเวตจากทางตะวันออกและปะทะกับการต่อต้านเล็กน้อยพร้อมกับสูญเสียทหารไปไม่มากนัก
แม้ว่ากองกำลังผสมจะประสบความสำเร็จ แต่ก็เป็นที่กลัวกันว่าริพับลิกันการ์ดของอิรักจะสามารถหลบหนีเข้าไปยังอิรักก่อนที่จะถูกทำลายได้ จากนั้นจึงมีการตัดสินใจส่งกองกำลังยานเกราะของอังกฤษเข้าไปยังคูเวต 15 ชั่วโมงก่อนกำหนดการและให้กองกำลังของสหรัฐไล่ตามริพับลิกันการ์ด การรุกของกองกำลังเริ่มด้วยการระดมยิงด้วยปืนใหญ่และจรวดเพื่อเปิดทางให้กับทหาร 150,000 นายและรถถังอีก 1,500 คัน กองกำลังของอิรักในคูเวตตอบโต้ทหารสหรัฐตามคำสั่งโดยตรงของซัดดัม แม้ว่าการรบจะดุเดือดแต่กระนั้นทหารอเมริกันก็สามารถตอบโต้ทหารอิรักและรุกต่อไปยังคูเวตซิตี
กองกำลังของคูเวตได้รับมอบหมายให้ทำการปลดปล่อยเมือง ทหารอิรักทำการต่อต้านได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น คูเวตเสียทหารไปหนึ่งนายและเครื่องบินอีกหนึ่งลำ ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ซัดดัมได้สั่งให้กองทัพล่าถอยออกจากคูเวต ประธานาธิบดีบุชประกาศว่าคูเวตได้รับอิสรภาพแล้ว อย่างไรก็ดีทหารอิรักที่ท่าอากาศยานนานาชาติคูเวตดูเหมือนจะไม่ได้รับข้อความดังกล่าวและทำการต่อสู้อย่างดุเดือด นาวิกโยธินสหรัฐต้องต่อสู้เป็นชั่วโมงจึงจะสามารถยึดสนามบินไว้ได้ หลังจากผ่านไปสี่วันของการรบ กองกำลังของอิรักก็ถูกขับไล่ออกจากคูเวต พวกเขาวางเพลิงบ่อน้ำมันของคูเวตเกือบ 700 แห่งและวางทุ่นระเบิดไว้รอบๆ บ่อน้ำมันเพื่อให้การควบคุมเพลิงเป็นไปได้ยาก